คปภ.แก้กฎเปิดช่อง “บ.ประกัน” ลงทุนต่างแดน
เหตุ “ดอกเบี้ยต่ำ – บาทแข็ง” ทำรายได้บริษัทประกันหดแรง ด้าน คปภ. ลุยสังคายนาประกาศการลงทุนฯ หนุนอุตสาหกรรมประกันภัย กระจายความเสี่ยงลงทุนในต่างแดน สอดรับเศรษฐกิจไทยและโลก พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างประกาศฯ จ่อเสนอ บอร์ด คปภ. ปลายเดือนนี้
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงาน คปภ. อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียต่อร่างประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต/บริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. … ร่างประกาศฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจประกันภัยไทย และการตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน โดยเปิดกว้างให้บริษัทประกันภัยสามารถลงทุนได้หลากหลายสอดคล้องกับลักษณะของความเสี่ยงและภาระผูกพันที่มีต่อผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ ร่างประกาศฯฉบับดังกล่าว สาระสำคัญ 4 ประเด็น คือ
1.มีการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจากภาวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคอุตสาหกรรมประกันภัยมีผลตอบแทนไม่เพียงพอต่อภาระผูกพันที่มีต่อผู้เอาประกันภัย ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงของบริษัทประกันภัย ลดการกระจุกตัวในการลงทุนภายในประเทศ เพิ่มทางเลือกในการหาผลตอบแทนของบริษัทประกันภัย และการแก้ปัญหาการบริหารสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับหนี้สินและภาระผูกผันที่มีต่อผู้เอาประกันภัย (Asset-Liability Management) RBC) ERM) ORSA) โดยเฉพาะบริษัทประกันชีวิตที่มีภาระผูกพันต่อสัญญาประกันภัยระยะยาว
สำหรับการป้องกันปัญหาเงินไทยไหลออกนอกประเทศ สำนักงาน คปภ. ได้จำกัดจำนวนเงินลงทุนในต่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งในรูปแบบการลงทุนในต่างประเทศทั้งหมด รวมทั้งแต่ละประเภทของสินทรัพย์ที่ไปลงทุน นอกจากนี้ ยังได้กำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องในการบริหารความเสี่ยงด้านการลงทุน เช่น การดำรงเงินกองทุนตามความเสี่ยง (การบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวม (และการประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัย) เป็นต้นมีการเพิ่มสัดส่วนและเพิ่มประเภทการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ใบทรัสต์ของกองทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือหน่วยของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ที่จดทะเบียนในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระยะยาวของประเทศ และเพิ่มทางเลือกในการหาผลตอบแทนของบริษัทประกันภัย
2.มีการเพิ่มประเภทการลงทุนของบริษัทประกันภัย โดยให้บริษัทถือตราสารทุนในบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการสถานพยาบาลในประเทศไทย รวมทั้งกิจการที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง (Long term care) Aging Society) ในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการประกันสุขภาพและรองรับปัญหาสังคมผู้สูงอายุของไทย
3.มีการเพิ่มประเภทการลงทุนของบริษัทประกันภัย โดยให้บริษัทถือตราสารทุนในบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการสถานพยาบาลในประเทศไทย รวมทั้งกิจการที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง (Long term care) Aging Society) ในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการประกันสุขภาพและรองรับปัญหาสังคมผู้สูงอายุของไทย
และ 4. มีการเพิ่มประเภทการลงทุนของบริษัทประกันภัย โดยให้บริษัทถือตราสารทุนในกิจการที่ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุน ยกระดับ และสร้างแรงจูงใจให้กับธุรกิจประกันภัย โดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและผู้เอาประกันภัยให้ดียิ่งขึ้น
การยกร่างประกาศดังกล่าวนั้น นายสุทธิพลย้ำว่า สำนักงาน คปภ. ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับภาคประกันภัยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูล ข้อเสนอแนะในแง่มุมต่างๆ อย่างครบถ้วนต่อร่างประกาศฯ ล่าสุดได้มีการจัดประชุมหารือร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทยเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเมื่อวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมา อีกทั้งยังจัดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ.ซึ่งสามารถให้ความเห็นและข้อแนะนำมาที่ : http://www.oic.or.th/th/consumer/public-hearing โดยจะได้รวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงร่างประกาศให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทุกมิติ ก่อนที่จะเสนอคณะกรรมการ คปภ. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
“สำนักงาน คปภ.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าร่างประกาศนี้ จะเป็นอีกมาตรการที่สำคัญในการช่วยเหลืออุตสาหกรรมประกันภัยไทยให้สามารถบริหารจัดการปัญหาที่เกิดจากดอกเบี้ยต่ำและค่าเงินบาทแข็ง โดยสามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชาติและประชาชน” เลขาธิการ คปภ. ระบุ
อนึ่ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สายด่วน คปภ. 1186 หรือเว็บไซต์ www.oic.or.thหรือ กลุ่มงานสื่อสารองค์กร โทรศัพท์ 02-515-3998-9 ต่อ 8307 โทรสาร 02-513-1437 PROIChttp://www.facebook.com/2012.