เอกชนลุยประกันสุขภาพข้าราชการ
ปลัดคลังยัน รมว.คลัง ไฟเขียวให้บริษัทประกันชีวิตรับประกันสุขภาพข้าราชการ 4 ล้านคนทั่วประเทศ วงเงินปีละ 6 หมื่นล้านบาท คาดเริ่มต้นไปปีงบประมาณ 2561 หรือวันที่ 1 ต.ค.60 เป็นต้นไป
“ หลังจากที่กระทรวงการคลังได้หารือกับผู้ประกอบการประกันชีวิตมาแล้วครั้ง ก็สามารถสรุปได้ว่า กระทรวงการคลังจะโอนภาระกิจทางด้านการดูแลสุขภาพข้าราชการให้แก่บริษัทประกัน ” นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวและกล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่ผ่านมา นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้รับทราบและอนุมัติเรื่องดังกล่าวอย่างไม่เป็นทางการแล้ว
โดยบริษัทประกันชีวิตที่เข้ามาบริหารเงินค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ จะได้วงเงิน (เบี้ยประกัน) ปีละไม่เกิน 60,000 ล้าน บาท เพื่อนำไปดูแลข้าราชการ 2 ล้านคน และครอบครัวอีก 2 ล้านคน รวมเป็นทั้งหมด 4 ล้านคน หลังจากตนได้หารือกับผู้บริหารสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งทั้ง 2 สมาคมมีความเห็นตรงกันและรับข้อเสนอของกระทรวง การคลัง
“เรื่องค่ารักษาพยาบาลที่กระทรวงการคลังจะมอบให้บริษัทประกันมาดำเนินการแทนกรมบัญชีกลางนั้น มีการหารือหลายรอบแล้ว และมีข้อสรุปตรงกันว่า ข้าราชการจะได้รับการดูแลเรื่องดังกล่าวอย่างน้อยที่สุดคือ เหมือนเดิมทุกประการ หรือ ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งทางฝ่ายบริษัทประกันได้ยืนยันว่า สามารถดำเนินการได้ โดยในระหว่างนี้ กระทรวงการคลังจะทำราย ละเอียดเพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโดยตั้งเป้าหมายว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2561 หรือตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.60 เป็นต้นไป ”
นายสมชัย กล่าวว่า การมอบภารกิจเรื่องรักษาพยาบาลให้บริษัทประกันชีวิตเข้ามาดูแลแทนกรมบัญชีกลาง มีอยู่เพียง2 ประเด็นคือ 1.ลดการรั่วไหลของเงินงบประมาณ และ 2.การเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาล โดยข้าราชการและครอบครัวที่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 4 ล้านคน หากคำนวณค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยปีละ 60,000 ล้านบาท ก็เท่ากับข้าราชการ 1 คน มีค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลเฉลี่ยต่อคนละ 15,000 บาทต่อปีซึ่งถือว่า สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับการบริการ และหากกระทรวงการคลังยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาควบคุมเลย งบค่ารักษาพยาบาลก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พิจารณาได้จากงบประมาณปี2556 ค่ารักษาพยาบาลเบิกจ่ายจริง 62,000 ล้านบาท งบประมาณปี57 เบิก จ่ายจริง 64,000 ล้านบาท ปีงบประมาณปี2558 เบิกจ่ายจริง 66,000 ล้านบาท และคาดว่างบประมาณปี59 เบิกจ่ายจริง 68,000 ล้านบาท
“ตอนนี้ มีข้าราชการหรือบุคคลบางกลุ่มต่อต้านเรื่องนี้ เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว เช่น การเวียนเทียนยาหรือช้อปยา โดยมีการนำยาที่ได้รับไปขายต่อในท้องตลาด รวมถึงการลดอำนาจใช้ยาของโรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งแต่ละปีคิดว่า มีมูลค่าหลายร้อยล้านบาท แต่กรมบัญชีกลางก็ไม่สามารถควบคุมเรื่องนี้ได้ทั้งหมดเพราะอุปกรณ์ เครื่องมือ จำนวนคนและความรู้เรื่องรักษาพยาบาลของเราก็มีอยู่อย่างจำกัด แต่หากปล่อยหน้าที่ในการควบคุมดูแลเป็นของภาคเอกชน ผมคิดว่า ประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลน่าจะดีขึ้น เช่น การเข้ารับบริการในโรงพยาลบาลเอกชน ”
สำหรับวงเงินค่ารักษาพยาบาลปีละ 60,000 ล้านบาทนั้น เป็นเพียงตัวเลขเบื้องต้น ซึ่งขณะนี้ทางบริษัทประกันชีวิตต้องไปคำนวณว่า มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือไม่ หากมีความเสี่ยงสูงก็คงไม่ตกลงที่รับประกันอย่างแน่นอน แต่ในกรณีนี้ แสดงให้เห็นว่า วงเงิน 60,000 ล้านบาทนั้น เพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจได้ ขณะที่กระทรวงการคลังเองก็บริหารรายจ่ายงบประ มาณได้ดีขึ้น เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำนักงบประมาณอนุมัติงบค่ารักษาพยาบาลปีละ 60,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่การเบิกจ่ายจริงทะลุ 60,000 ล้านบาททุกๆ ปี.
ปลัดคลัง ยัน รมว.คลัง ไฟเขียวให้บริษัทประกันชีวิตรับประกันสุขภาพข้าราชการ 4 ล้านคน ทั่วประเทศ วงเงินปีละ 6 หมื่นล้านบาท คาดเริ่มต้นไปปีงบประมาณ 2561 หรือวันที่ 1 ต.ค. 60 เป็นต้นไป
“ หลังจากที่กระทรวงการคลังได้หารือกับผู้ประกอบการประกันชีวิตมาแล้วครั้ง ก็สามารถสรุปได้ว่า กระทรวงการคลังจะโอนภาระกิจทางด้านการดูแลสุขภาพข้าราชการให้แก่บริษัทประกัน ” นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวและกล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้รับทราบและอนุมัติเรื่องดังกล่าวอย่างไม่เป็นทางการแล้ว
โดยบริษัทประกันชีวิตที่เข้ามาบริหารเงินค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ จะได้วงเงิน (เบี้ยประกัน) ปีละไม่เกิน 60,000 ล้าน บาท เพื่อนำไปดูแลข้าราชการ 2 ล้านคน และครอบครัวอีก 2 ล้านคน รวมเป็นทั้งหมด 4 ล้านคน หลังจากตนได้หารือกับผู้บริหารสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต ซึ่งทั้ง 2 สมาคมมีความเห็นตรงกันและรับข้อเสนอของกระทรวงการคลัง
“เรื่องค่ารักษาพยาบาลที่กระทรวงการคลังจะมอบให้บริษัทประกันมาดำเนินการแทนกรมบัญชีกลางนั้น มีการหารือหลายรอบแล้ว และมีข้อสรุปตรงกันว่า ข้าราชการจะได้รับการดูแลเรื่องดังกล่าวอย่างน้อยที่สุดคือ เหมือนเดิมทุกประการ หรือ ดี ขึ้นกว่าเดิม ซึ่งทางฝ่ายบริษัทประกันได้ยืนยันว่า สามารถดำเนินการได้ โดยในระหว่างนี้ กระทรวงการคลังจะทำราย ละเอียดเพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโดยตั้งเป้าหมายว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ2561 หรือตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.60 เป็นต้นไป ”
นายสมชัย กล่าวว่า การมอบภารกิจเรื่องรักษาพยาบาลให้บริษัทประกันชีวิตเข้ามาดูแลแทนกรมบัญชีกลาง มีอยู่เพียง 2 ประเด็นคือ 1.ลดการรั่วไหลของเงินงบประมาณ และ 2.การเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาล โดยข้าราชการและครอบครัวที่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 4 ล้านคน หากคำนวณค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยปีละ 60,000 ล้านบาท ก็เท่ากับข้าราชการ 1 คน มีค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลเฉลี่ยต่อคนละ 15,000 บาทต่อปีซึ่งถือว่า สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับการบริการ และหากกระทรวงการคลังยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาควบคุมเลย งบค่ารักษาพยาบาลก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พิจารณาได้จากงบประมาณปี 2556 ค่ารักษาพยาบาลเบิกจ่ายจริง 62,000 ล้านบาท งบประมาณปี57 เบิก จ่ายจริง 64,000 ล้านบาท ปีงบประมาณปี2558 เบิกจ่ายจริง 66,000 ล้านบาท และคาดว่างบประมาณปี59 เบิกจ่ายจริง 68,000 ล้านบาท
“ตอนนี้ มีข้าราชการหรือบุคคลบางกลุ่มต่อต้านเรื่องนี้ เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว เช่น การเวียนเทียนยาหรือช้อปยา โดยมีการนำยาที่ได้รับไปขายต่อในท้องตลาด รวมถึงการลดอำนาจใช้ยาของโรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งแต่ละปีคิดว่า มีมูลค่าหลายร้อยล้านบาท แต่กรมบัญชีกลางก็ไม่สามารถควบคุมเรื่องนี้ได้ทั้งหมดเพราะอุปกรณ์ เครื่องมือ จำนวนคนและความรู้เรื่องรักษาพยาบาลของเราก็มีอยู่อย่างจำกัด แต่หากปล่อยหน้าที่ในการควบคุมดูแลเป็นของภาคเอกชน ผมคิดว่า ประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลน่าจะดีขึ้น เช่น การเข้ารับบริการในโรงพยาลบาลเอกชน ”
สำหรับวงเงินค่ารักษาพยาบาลปีละ 60,000 ล้านบาทนั้น เป็นเพียงตัวเลขเบื้องต้น ซึ่งขณะนี้ทางบริษัทประกันชีวิตต้องไปคำนวณว่า มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือไม่ หากมีความเสี่ยงสูงก็คงไม่ตกลงที่รับประกันอย่างแน่นอน แต่ในกรณีนี้ แสดงให้เห็นว่า วงเงิน 60,000 ล้านบาทนั้น เพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจได้ ขณะที่กระทรวงการคลังเองก็บริหารรายจ่ายงบประ มาณได้ดีขึ้น เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำนักงบประมาณอนุมัติงบค่ารักษาพยาบาลปีละ 60,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่การเบิกจ่ายจริงทะลุ 60,000 ล้านบาททุกๆ ปี.