ธ.ก.ส.วางแผนขายข้าวอุ้มชาวนา
ธ.ก.ส. วางแผนสองนำข้าวหอมมะลิในยุ้งฉางเกษตรกร มาบรรจุถึงขนาด 5 กิโลกรัม ขายประชาชน 125-130 บาทลดความเสี่ยงโครงการรัฐบาล ขณะที่กระทรวงพาณิชย์หารือแบงก์ เล็งปล่อยกู้โรงสีข้าว 8 หมื่นล้านบาท
“ หากข้าวหอมมะลิที่เรารับจำนำที่ยุ้งฉางไม่มีเกษตรกรมาไถ่ถอนคืน เรา (ธ.ก.ส.) ก็จะนำมาใส่ถุงขายเอง เพื่อความเสี่ยงและบริหารจัดการเอง ภายใต้ข้าวถุงยี่ห้อ ” นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แถลงข่าวเมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 2 พ.ย.59 คณะกรรมการ (บอร์ด) ได้เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการให้ความช่วยเหลือชาวนาตามโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2559/60 วงเงินรวม 27,410 ล้านบาท และโครงการให้ความช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่ชาวนาผู้ปลูกข้าวหอมมะลิปีการผลิต 2559/60 วงเงินรวม 19,375 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 46,785 ล้านบาท
” เมื่อชาวนาทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ขอให้ทำการลดความชื้นและดูแลคุณภาพข้าวก่อนนำข้าวเปลือกขึ้นยุ้งฉาง แล้วจึงไปติดต่อพนักงาน ธ.ก.ส.ใกล้บ้านให้มาดำเนินการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวเปลือกเพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ โดย ธ.ก.ส. พร้อมโอนเงินเข้าบัญชีภายใน 3 วัน ” นายลักษณ์ กล่าวและกล่าวว่า
ชาวนาที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับเงินเป็นสินเชื่อเพื่อชะลอการขายจาก ธ.ก.ส. ตันละ 9,500 บาท โดยมีคุณสมบัติข้าว เปลือก 10 กรัม สามารถสีเป็นข้าวสารได้ 36 กรัมขึ้นไป และต้องมีข้าวหอมมะลิ พันธุ์ 105 หรือข้าวพันธ์ กข.15 เท่านั้น โดยมีระยะเวลาไถ่ถอนคืนเงินไม่เกิน 5 เดือน ไม่มีดอกเบี้ย นอกจากนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการยังได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บรักษาข้าวเปลือกในยุ้งฉางตันละ 1,500 บาท ตามโครงการชะลอการขายข้าวเปลือกฯ และชาวนายังจะได้รับเงินช่วย เหลือจากรัฐบาลเป็นค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวอีกตันละ 2,000 บาท (คำนวณจากการจ่ายเงินช่วยเหลือไร่ละ 800 บาท ไม่เกิน 15 ไร่) ตามโครงการให้ความช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพ รวมเป็นเงินที่ชาวนาจะได้รับทั้งสิ้น 13,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก
สำหรับชาวนาที่ไม่มียุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกไว้รอราคาและต้องขายข้าวเปลือกเอง ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลตามโครงการให้ความช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ตันละ 2,000 บาท เพิ่มเติมจากราคาข้าวเปลือกที่ขายได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ธ.ก.ส.จะโอนเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรโดยตรง
นอกจากนี้ บอร์ดยังได้มอบหายให้ฝ่ายบริหารไปจัดทำโครงการรองรับและบริหารความเสี่ยงจากการดำเนินโครงการช่วย เหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยประเมินในเบื้องต้นว่า จะมีข้าวเปลือกเหลืออยู่ในยุ้งฉางประมาณ 20% ของจำนวนข้าวที่เข้าร่วมโครงการที่เกษตรกรไม่มาไถ่ถอนคืน ซึ่งในส่วนนี้ได้วางแผนให้มีการนำข้าวดังกล่าวมาสีแปรสภาพเป็นข้าวสารเพื่อบรรจุถุงละ 5 กิโลกรัมจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งโครงการลักษณะนี้ ธ.ก.ส.เคยดำเนินการมาก่อน โดยในปี้ สามารถช่วยระบายข้าวจากยุ้งฉาง 544,000 ตัน เป็นวงเงิน 6,909 ล้านบาท
” เรามีข้อมูลว่าข้าวเปลือกจำนวน 2 ตัน หากนำมาสีแปรสภาพเป็นข้าวสารจะเหลือ 1 ตัน ในส่วนนี้มีต้นทุนอยู่ที่ 19 บาทต่อกิโลกรัม โดยในปีที่ผ่านมา ธนาคารได้ทดลองนำข้าวที่เข้าโครงการดูแลเสถียรภาพราคาของธนาคารมาสีแปรสภาพ พร้อมทั้งบรรจุถุงขาย 5 กิโลกรัม ภายใต้ยี่ห้อ A-Rice ซึ่งมีต้นทุนค่าถุง ค่าสีข้าวและค่าขนส่งอยู่ที่ 4 บาทต่อกิโลกรัมเมื่อรวมกับ ต้นทุนข้าวถุงละ 19 บาท ต้นทุนที่แท้จริงจะอยู่ที่ 23 บาทต่อกิโลกรัม หากบรรจุถุงขนาด 5 กิโลกรัม มีต้นทุน 115 บาท โดย ธ.ก.ส.จะบวกกำไรเพิ่มอีก 10 บาทให้แก่สหกรณ์ หรือวิสาหกิจชุมชน ซึ่งจะทำให้ข้าวถุง 5 กิโลกรัม มีราคาขายอยู่ที่ 125-130 บาท ผมคิดว่า ไม่แพงและมั่นในว่า ประชาชนจะช่วยซื้อข้าวจาก ธ.ก.ส.เพื่อช่วยเหลือชาวนาโดยมีโรงสีที่พร้อมดำเนินการ 140 โรง จากทั้งหมด 1,400 โรง ”
นายลักษณ์ กล่าวว่า ปีนี้ คาดว่า จะมีปริมาณข้าวเปลือกหอมมะลิออกสู่ตลาดประมาณ 10 ล้านตัน ในส่วนที่ ธ.ก.ส.รับ ผิดชอบน่าจะมีประมาณ 2 ล้านตัว ส่วนที่เหลืออีก 8 ล้านตันนั้น กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทยและธนาคารพาณิชย์ เพื่อช่วยปล่อยสินเชื่อให้แก่โรงสีข้าวจำนวน 80,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะมีการชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% ระยะเวลา 3-6 เดือน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในปีนี้ ธ.ก.ส.คาดว่า จะมีปริมาณข้าวหอมมะลิออกสู่ตลาด 10 ล้านตัน และข้าวประเภทอื่นที่จะทยอยออกตลอดทั้งปีอีก 25 ล้านตัน รวมมีปริมาณออกสู่ตลาด 35 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงกว่าปีก่อน เนื่องจากปีนี้ ผลผลิตข้าวออกดี ขณะที่รัฐบาลยังมีสต๊อกข้าวอยู่ในมืออีกจำนวนมาก จึงทำให้ไทยมีปริมาณข้าวเหลืออยู่ในมือจำนวนมาก ส่วนประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว กัมพูชาและเวียดนามในปัจจุบันสามารถปลูกข้าวหอมมะลิและส่งออกได้ด้วย จึงทำให้ความต้องการหอมมะลิของไทยในตลาดโลกลดลงและมีราคาถูกลง.