ม.44 สอยนายกฯเชียงใหม่สะเทือนคนชินวัตร
คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่44/2559 ให้ “บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่”
ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงคําสั่ง โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
จากกรณีเจ้าหน้าที่บุกตรวจจับร่างรัฐธรรมนูญปลอมในจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้ปฏิบัติการของ ทหารมณฑลทหารบกที่ 33 และตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ลงพื้นที่เข้าตรวจค้นเป้าหมาย 10 จุด ซึ่งเชื่อว่านายบุญเลิศอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องต่อกระบวนการส่งจดหมายบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญ
เป้าหมายใหญ่ของปฏิบัติการคือ บริษัท ทัศนาภรณ์ จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวของตระกูล“บูรณุปกรณ์”และบ้านใกล้เคียงในบริเวณนั้น พบหลักฐานจำนวนมาก พร้อมกับรถจักรยานยนต์ และเครื่องแต่งกายตรงกับผู้ที่ก่อเหตุตระเวนหย่อนจดหมายลงตู้ไปรษณีย์ที่กล้องวงจรปิดจับภาพไว้ได้ หากเอ่ยชื่อ“ทัศนาภรณ์”คนเชียงใหม่รู้ดีว่า เป็นธุรกิจเก่าแก่ของตระกูล “บูรณุปกรณ์” โดยเริ่มจากเป็นร้านขายผ้าพื้นเมืองก่อนจะต่อยอดมาทำธุรกิจอื่น
ตระกูล“บูรณุปกรณ์” นับเป็นตระกูลเก่าแก่สายหนึ่งของเชียงใหม่ แม้จะมีประวัติความเป็นมาไม่ยิ่งใหญ่เทียบเท่า “ชินวัตร” หรือ “นิมมานเหมินท์” แต่ในยุคนี้ “บูรณุปกรณ์” เป็นกลุ่มตระกูล ที่ได้ก้าวขึ้นมาครองความยิ่งใหญ่ ทั้งด้านธุรกิจ และการเมืองของเชียงใหม่อย่างปฏิเสธไม่ได้
เส้นทางการเมืองของ “บูรณุปกรณ์” นั้นสองพี่น้อง“บุญเลิศ” กับ “ปกรณ์” ได้ก้าวเข้ามาเล่นการเมืองท้องถิ่น ในนาม“กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม”ทั้งพี่และน้อง ต่างก็ได้เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่
ปี 2543 “ทักษิณ ชินวัตร” มอบหมายให้น้องสาว “เยาวภา วงศ์สวัสดิ์” หรือ เจ๊แดง เป็นแม่ทัพภาคเหนือ กวาดต้อนกลุ่มการเมืองและธุรกิจ ให้เข้ามาอยู่ใต้ร่มธงพรรคไทยรักไทย
“เยาวภา” จึงทาบทามตระกูลบูรณุปกรณ์ ให้มาร่วมสร้างไทยรักไทยภาคเหนือ โดย”ปกรณ์” ไม่ปฏิเสธคำเชิญของตระกูลชินวัตรทั้งที่ก่อนหน้านั้น “ปกรณ์” ก็พอจะมีฐานเสียงอยู่ในมือบ้าง.เพราะเคยลงสมัคร ส.ส.เชียงใหม่ในนามพรรคชาติพัฒนา แต่ไม่ประสบชัยชนะ
จนเปลี่ยนสีเสื้อมาเป็นพรรคไทยรักไทย และส่งให้ปกรณ์ก็ได้เป็น ส.ส.เชียงใหม่ ถึง 2 สมัยจากนั้น สายสัมพันธ์2ตระกูล“ชินวัตร” กับ “กรบูรณุปณ์”ก็แนบแน่นขึ้นมาก กระทั่ง “ปกรณ์” เสียชีวิตกะทันหัน จึงส่งหลานสาวคือ ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ มาลงสมัคร ส.ส.แทน
และทำให้ บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ได้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 2 สมัยส่วนฐานการเมืองในปัจจุบัน เทศบาลนครเชียงใหม่ ฐานที่มั่นการเมืองของตระกูลบูรณุปกรณ์ ในวันนี้ ก็ยังมีหลานชายของบุญเลิศคือ ทัศนัย บูรณุปกรณ์ นั่งเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า การที่ คสช.เปิดปฏิบัติการชนตระกูล “บูรณุปกรณ์” ครั้งนี้ ย่อมสะเทือนและกระทบชิ่งไปไม่น้อย ทั้งฐานเสียงพรรคเพื่อไทย ที่ว่ากันว่าเป็นเมืองหลวงของกลุ่มคนเสื้อแดงคำสั่งคสช.ฉบับนี้ เกิดหลังจากนักข่าวถาม “บิ๊กตู่-ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ถึงการจับกุม 5 นักการเมืองภาคเหนือที่อยู่เบื้องหลังการสร้างสถานการณ์ช่วงประชามติ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ตอบคำถามเรื่องการพบรัฐธรรมนูญปลอมที่เชียงใหม่ว่า “ต้องรอให้สอบสวนก่อน สอบถึงใครก็จับหมด ถ้าเกี่ยวข้องมีหลักฐานต้องถูกดำเนินคดี จากนั้นไปสู้คดีกัน แต่หากเขาไม่ทำผิดก็ไม่สามารถทำอะไรเขาได้”
ยิ่งเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของการเมืองก่อนถึงวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7สิงหาคม เป็นปฏิบัติการที่จับได้คาหนังคาเขา ที่นัยหนึ่งอาจจะทำให้บรรยากาศการเมืองสงบนิ่งและร้อนฉ่าใต้ดินหรือไม่ในเวลาเดียวกัน
คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่44/2559 ให้ “บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่”
ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงคําสั่ง โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
จากกรณีเจ้าหน้าที่บุกตรวจจับร่างรัฐธรรมนูญปลอมในจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้ปฏิบัติการของ ทหารมณฑลทหารบกที่ 33 และตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ลงพื้นที่เข้าตรวจค้นเป้าหมาย 10 จุด ซึ่งเชื่อว่านายบุญเลิศอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องต่อกระบวนการส่งจดหมายบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญ
เป้าหมายใหญ่ของปฏิบัติการคือ บริษัท ทัศนาภรณ์ จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวของตระกูล“บูรณุปกรณ์”และบ้านใกล้เคียงในบริเวณนั้น พบหลักฐานจำนวนมาก พร้อมกับรถจักรยานยนต์ และเครื่องแต่งกายตรงกับผู้ที่ก่อเหตุตระเวนหย่อนจดหมายลงตู้ไปรษณีย์ที่กล้องวงจรปิดจับภาพไว้ได้ หากเอ่ยชื่อ“ทัศนาภรณ์”คนเชียงใหม่รู้ดีว่า เป็นธุรกิจเก่าแก่ของตระกูล “บูรณุปกรณ์” โดยเริ่มจากเป็นร้านขายผ้าพื้นเมืองก่อนจะต่อยอดมาทำธุรกิจอื่น
ตระกูล“บูรณุปกรณ์” นับเป็นตระกูลเก่าแก่สายหนึ่งของเชียงใหม่ แม้จะมีประวัติความเป็นมาไม่ยิ่งใหญ่เทียบเท่า “ชินวัตร” หรือ “นิมมานเหมินท์” แต่ในยุคนี้ “บูรณุปกรณ์” เป็นกลุ่มตระกูล ที่ได้ก้าวขึ้นมาครองความยิ่งใหญ่ ทั้งด้านธุรกิจ และการเมืองของเชียงใหม่อย่างปฏิเสธไม่ได้
เส้นทางการเมืองของ “บูรณุปกรณ์” นั้นสองพี่น้อง“บุญเลิศ” กับ “ปกรณ์” ได้ก้าวเข้ามาเล่นการเมืองท้องถิ่น ในนาม“กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม”ทั้งพี่และน้อง ต่างก็ได้เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่
ปี 2543 “ทักษิณ ชินวัตร” มอบหมายให้น้องสาว “เยาวภา วงศ์สวัสดิ์” หรือ เจ๊แดง เป็นแม่ทัพภาคเหนือ กวาดต้อนกลุ่มการเมืองและธุรกิจ ให้เข้ามาอยู่ใต้ร่มธงพรรคไทยรักไทย
“เยาวภา” จึงทาบทามตระกูลบูรณุปกรณ์ ให้มาร่วมสร้างไทยรักไทยภาคเหนือ โดย”ปกรณ์” ไม่ปฏิเสธคำเชิญของตระกูลชินวัตรทั้งที่ก่อนหน้านั้น “ปกรณ์” ก็พอจะมีฐานเสียงอยู่ในมือบ้าง.เพราะเคยลงสมัคร ส.ส.เชียงใหม่ในนามพรรคชาติพัฒนา แต่ไม่ประสบชัยชนะ
จนเปลี่ยนสีเสื้อมาเป็นพรรคไทยรักไทย และส่งให้ปกรณ์ก็ได้เป็น ส.ส.เชียงใหม่ ถึง 2 สมัยจากนั้น สายสัมพันธ์2ตระกูล“ชินวัตร” กับ “กรบูรณุปณ์”ก็แนบแน่นขึ้นมาก กระทั่ง “ปกรณ์” เสียชีวิตกะทันหัน จึงส่งหลานสาวคือ ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ มาลงสมัคร ส.ส.แทน
และทำให้ บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ได้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 2 สมัยส่วนฐานการเมืองในปัจจุบัน เทศบาลนครเชียงใหม่ ฐานที่มั่นการเมืองของตระกูลบูรณุปกรณ์ ในวันนี้ ก็ยังมีหลานชายของบุญเลิศคือ ทัศนัย บูรณุปกรณ์ นั่งเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า การที่ คสช.เปิดปฏิบัติการชนตระกูล “บูรณุปกรณ์” ครั้งนี้ ย่อมสะเทือนและกระทบชิ่งไปไม่น้อย ทั้งฐานเสียงพรรคเพื่อไทย ที่ว่ากันว่าเป็นเมืองหลวงของกลุ่มคนเสื้อแดงคำสั่งคสช.ฉบับนี้ เกิดหลังจากนักข่าวถาม “บิ๊กตู่-ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ถึงการจับกุม 5 นักการเมืองภาคเหนือที่อยู่เบื้องหลังการสร้างสถานการณ์ช่วงประชามติ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ตอบคำถามเรื่องการพบรัฐธรรมนูญปลอมที่เชียงใหม่ว่า “ต้องรอให้สอบสวนก่อน สอบถึงใครก็จับหมด ถ้าเกี่ยวข้องมีหลักฐานต้องถูกดำเนินคดี จากนั้นไปสู้คดีกัน แต่หากเขาไม่ทำผิดก็ไม่สามารถทำอะไรเขาได้”
ยิ่งเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของการเมืองก่อนถึงวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7สิงหาคม เป็นปฏิบัติการที่จับได้คาหนังคาเขา ที่นัยหนึ่งอาจจะทำให้บรรยากาศการเมืองสงบนิ่งและร้อนฉ่าใต้ดินหรือไม่ในเวลาเดียวกัน