ดัน “ศูนย์รักษาฯ” ปูทางประชามติ?
รัฐบาลจะจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย ขึ้นในทุกจังหวัดและอำเภอ ตั้งแต่วันที่1 ก.ค.59
โดยในระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผอ.ศูนย์ฯ ส่วนระดับอำเภอมีนายอำเภอเป็น ผอ.ศูนย์ฯ และมีหัวหน้าส่วนราชการเป็นกรรมการ
ภายหลังจาก “เสธไก่อู” พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า “รัฐบาล” มีแนวคิดผุดไอเดียตั้งศูนย์คุ้มประชามติด้วยตัวเอง
“รัฐบาลมีความร่วมมือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ โดยการจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อทำหน้าที่ 3 ภารกิจหลัก คือ ด้านการบริหารจัดการ เช่น จัดทำแผนเผชิญเหตุ ติดตามสถานการณ์ ตั้งจุดตรวจจุดสกัด ด้านการข่าว เสาะหาข่าวที่บิดเบือนเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติ และด้านการแก้ไขปัญหาการชุมนุมสาธารณะ ดำเนินการตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 โดยเป้าหมายเพื่อป้องกัน ระงับ ยับยั้งเหตุที่จะนำไปสู่ความไม่สงบ สนับสนุนให้การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นกลาง ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ 3 ระยะ คือ ก่อนวันออกเสียงประชามติ 1 ก.ค.- 6 ส.ค.59 วันออกเสียงประชามติ 7 ส.ค.59 และหลังวันออกเสียงประชามติ 8 – 10 ส.ค.59 หรือจนกว่าจะเรียบร้อย”
งานนี้จับสัญญาณกลุ่มการเมือง โดยเฉพาะ “แกนนำนปช.” จตุพร พรหมพันธุ์ ออกอากาศฉุน! ขาด หลังรัฐบาลเบรกตั้ง “ศูนย์ปราบโกงประชามติ” แต่กลับมาตั้งเสียเอง
“ขณะนี้รัฐบาลจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อยทั่วประเทศ โฆษกรัฐบาลยังบอกว่าตามคำบัญชานายกรัฐมนตรี ที่ย้ำชัดเจนไม่ปล่อยให้เกิดการโกงและมีการขัดขวางประชามติเกิดขึ้น ยิ่งจะสร้างความตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งจริงๆ กลไกทุจริตมีแต่ฝ่ายรัฐเท่านั้น ถามว่าถ้ามีจริง รัฐจะไปจับรัฐหรือไม่มีอะไรเป็นหลักประกันว่าการลงประชามติจะสุจริต เที่ยงธรรมได้ กลายเป็นว่าคนในทำเอง จับผิดกันเอง ไม่เปิดให้ประชาชนเข้าร่วมตรวจสอบ จึงไม่ทำให้เกิดความโปร่งใส กลายเป็นฝ่ายรัฐมีเต็มประเทศ เป็นคนกันเอง ตรวจสอบกันเอง องค์กรนี้จะเป็นองค์กรคุ้มครอง ไม่ว่า ครู ก. ครู ข. หากทำผิด พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งรัฐบาลต้องการตั้งศูนย์มาเพื่อคุ้มครองประโยชน์ให้กับรัฐเป็นไปในทิศทางเดียว แต่อย่าให้กลายเป็นว่ากลไกรัฐจะโกงกันเสียเอง”
จะเห็นได้ว่า ก่อนหน้านี้ นปช.มีพยายามจัดตั้ง “ศูนย์ปราบโกงประชามติ” แต่คสช.สั่งห้าม เนื่องจากเห็นว่าเป็นการจัดกิจกรรมทางการเมือง ดังนั้น จึงเกิดการเปรียบเทียบว่าการจัดตั้งศูนย์ของรัฐบาล ไม่ต่างอะไรกับของนปช.
เรื่องถึง“พี่ใหญ่-บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ต้องออกโรงชี้แจงปกป้องว่า “ยืนยันว่าไม่ศูนย์ดังกล่าวเหมือนกัน นปช.ตั้งแบบคิดเองเออเอง และเรื่องดังกล่าวได้มอบหมายเรื่องนี้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ร่วมกันดูแลให้เกิดความเรียบร้อย โดยบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพราะรัฐบาลต้องการให้เกิดความสงบเรียบร้อยทุกพื้นที่ ”
ปฏิเสธไม่ได้ว่า หากดูจากแรงต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้น จังหวะนี้ทำให้รัฐบาลต้องออกแรงเคลื่อนไหวปราม ฝ่ายตรงข้ามด้วยการตั้ง “ศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย” เพื่อให้เส้นโค้งสุดท้ายก่อนถึงวันลงประชามติ 7 ส.ค.ราบรื่น
หากดูตามเนื้อผ้า ศูนย์ดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด “รัฐบาล-คสช.” คุมเกมการออกเสียงประชามติอยู่ในมืออย่างอยู่หมัด เพื่อสกัดกลุ่มจ้องป่วนโดยเฉพาะ
อีกเหตุผลที่น่าสนใจ คือ การจัดตั้งศูนย์ของรัฐบาล เพื่อต้องการแบ่งเบาภาระของกกต. ในการดำเนินคดี หากพบผู้กระทำการทุจริต และเพราะขณะนี้อยู่ในช่วงที่ กกต.กำลังรับศึกหนักหลายด้าน จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องยืนมือเข้ามาช่วย
อย่างไรก็ดี ท่าทีอันเข้มข้นของ “รัฐบาล-คสช.” ในช่วงนี้ เห็นได้ชัดว่าไม่ยอมให้ฝ่ายตรงข้ามได้ขยับเขยื้อน เพราะกลัวเกมป่วนที่จะเอาไม่อยู่ จึงต้องคุมเข้มกันถึงที่สุด ซึ่งหากเปรียบเป็นมวยก็คงต้องวัดการที่ยกสุดท้ายว่าใครจะแพ้หรือจะชนะ
จากนี้คงต้องวัดฝีมือ“ศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย” ว่าจะช่วยตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลของการทำประชามติได้จริงหรือแค่สร้างรูปแบบให้รัฐบาลมาคุมเกมป้องกันกลุ่มป่วนต่างๆ เท่านั้น.
รัฐบาลจะจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย ขึ้นในทุกจังหวัดและอำเภอ ตั้งแต่วันที่1 ก.ค.59
โดยในระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผอ.ศูนย์ฯ ส่วนระดับอำเภอมีนายอำเภอเป็น ผอ.ศูนย์ฯ และมีหัวหน้าส่วนราชการเป็นกรรมการ
ภายหลังจาก “เสธไก่อู” พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า “รัฐบาล” มีแนวคิดผุดไอเดียตั้งศูนย์คุ้มประชามติด้วยตัวเอง
“รัฐบาลมีความร่วมมือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ โดยการจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อทำหน้าที่ 3 ภารกิจหลัก คือ ด้านการบริหารจัดการ เช่น จัดทำแผนเผชิญเหตุ ติดตามสถานการณ์ ตั้งจุดตรวจจุดสกัด ด้านการข่าว เสาะหาข่าวที่บิดเบือนเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติ และด้านการแก้ไขปัญหาการชุมนุมสาธารณะ ดำเนินการตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 โดยเป้าหมายเพื่อป้องกัน ระงับ ยับยั้งเหตุที่จะนำไปสู่ความไม่สงบ สนับสนุนให้การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นกลาง ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ 3 ระยะ คือ ก่อนวันออกเสียงประชามติ 1 ก.ค.- 6 ส.ค.59 วันออกเสียงประชามติ 7 ส.ค.59 และหลังวันออกเสียงประชามติ 8 – 10 ส.ค.59 หรือจนกว่าจะเรียบร้อย”
งานนี้จับสัญญาณกลุ่มการเมือง โดยเฉพาะ “แกนนำนปช.” จตุพร พรหมพันธุ์ ออกอากาศฉุน! ขาด หลังรัฐบาลเบรกตั้ง “ศูนย์ปราบโกงประชามติ” แต่กลับมาตั้งเสียเอง
“ขณะนี้รัฐบาลจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อยทั่วประเทศ โฆษกรัฐบาลยังบอกว่าตามคำบัญชานายกรัฐมนตรี ที่ย้ำชัดเจนไม่ปล่อยให้เกิดการโกงและมีการขัดขวางประชามติเกิดขึ้น ยิ่งจะสร้างความตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งจริงๆ กลไกทุจริตมีแต่ฝ่ายรัฐเท่านั้น ถามว่าถ้ามีจริง รัฐจะไปจับรัฐหรือไม่มีอะไรเป็นหลักประกันว่าการลงประชามติจะสุจริต เที่ยงธรรมได้ กลายเป็นว่าคนในทำเอง จับผิดกันเอง ไม่เปิดให้ประชาชนเข้าร่วมตรวจสอบ จึงไม่ทำให้เกิดความโปร่งใส กลายเป็นฝ่ายรัฐมีเต็มประเทศ เป็นคนกันเอง ตรวจสอบกันเอง องค์กรนี้จะเป็นองค์กรคุ้มครอง ไม่ว่า ครู ก. ครู ข. หากทำผิด พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งรัฐบาลต้องการตั้งศูนย์มาเพื่อคุ้มครองประโยชน์ให้กับรัฐเป็นไปในทิศทางเดียว แต่อย่าให้กลายเป็นว่ากลไกรัฐจะโกงกันเสียเอง”
จะเห็นได้ว่า ก่อนหน้านี้ นปช.มีพยายามจัดตั้ง “ศูนย์ปราบโกงประชามติ” แต่คสช.สั่งห้าม เนื่องจากเห็นว่าเป็นการจัดกิจกรรมทางการเมือง ดังนั้น จึงเกิดการเปรียบเทียบว่าการจัดตั้งศูนย์ของรัฐบาล ไม่ต่างอะไรกับของนปช.
เรื่องถึง“พี่ใหญ่-บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ต้องออกโรงชี้แจงปกป้องว่า “ยืนยันว่าไม่ศูนย์ดังกล่าวเหมือนกัน นปช.ตั้งแบบคิดเองเออเอง และเรื่องดังกล่าวได้มอบหมายเรื่องนี้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ร่วมกันดูแลให้เกิดความเรียบร้อย โดยบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพราะรัฐบาลต้องการให้เกิดความสงบเรียบร้อยทุกพื้นที่ ”
ปฏิเสธไม่ได้ว่า หากดูจากแรงต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้น จังหวะนี้ทำให้รัฐบาลต้องออกแรงเคลื่อนไหวปราม ฝ่ายตรงข้ามด้วยการตั้ง “ศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย” เพื่อให้เส้นโค้งสุดท้ายก่อนถึงวันลงประชามติ 7 ส.ค.ราบรื่น
หากดูตามเนื้อผ้า ศูนย์ดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด “รัฐบาล-คสช.” คุมเกมการออกเสียงประชามติอยู่ในมืออย่างอยู่หมัด เพื่อสกัดกลุ่มจ้องป่วนโดยเฉพาะ
อีกเหตุผลที่น่าสนใจ คือ การจัดตั้งศูนย์ของรัฐบาล เพื่อต้องการแบ่งเบาภาระของกกต. ในการดำเนินคดี หากพบผู้กระทำการทุจริต และเพราะขณะนี้อยู่ในช่วงที่ กกต.กำลังรับศึกหนักหลายด้าน จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องยืนมือเข้ามาช่วย
อย่างไรก็ดี ท่าทีอันเข้มข้นของ “รัฐบาล-คสช.” ในช่วงนี้ เห็นได้ชัดว่าไม่ยอมให้ฝ่ายตรงข้ามได้ขยับเขยื้อน เพราะกลัวเกมป่วนที่จะเอาไม่อยู่ จึงต้องคุมเข้มกันถึงที่สุด ซึ่งหากเปรียบเป็นมวยก็คงต้องวัดการที่ยกสุดท้ายว่าใครจะแพ้หรือจะชนะ
จากนี้คงต้องวัดฝีมือ“ศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย” ว่าจะช่วยตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลของการทำประชามติได้จริงหรือแค่สร้างรูปแบบให้รัฐบาลมาคุมเกมป้องกันกลุ่มป่วนต่างๆ เท่านั้น.