วันหยุดยาวถล่มดัชนีอุตฯ
เทศกาลสงกรานต์ที่มีวันหยุดต่อเนื่องในเดือนเม.ย. ส่งผลให้ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมลดลงมาอยู่ที่ 85.0 จากเดือนก่อนหน้านี้ อยู่ที่ 86.7 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตก็ลดลงเช่นกัน
“ผลการสำรวจความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย.อยู่ที่ระดับ 85.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 86.7 ในเดือนมีนาคมทั้งนี้ค่าดัชนีฯ ที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบยอดคำสั่งซื้อโดยรวมยอดขาย โดยรวมปริมาณการผลิตต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ” นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวและกล่าวว่า
ส.อ.ท.ได้สำรวจตัวอย่างทั้งหมด 1,212 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม 27.7% อุตสาหกรรมขนาดกลาง 34.8% และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 37.5% นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง 42.1% ภาคเหนือ 13.5% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16% ภาคตะวันออก 11.5% และภาคใต้ 16.9 และยังได้แบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศถึง 79.5% และที่เหลืออีก 20.5% เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ
โดยพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยเดือนเม.ย.59 อยู่ที่ระดับ 85 ปรับตัวลดลงจากระดับ 86.7 ในเดือนมี.ค.ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 97.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 98.3 ในเดือนมี.ค.
โดยมีสาเหตุหลักมาจากเดือนเม.ย.มีวันทำงานน้อย เนื่องจากมีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำให้การใช้กำลังการผลิตลดลง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เช่นอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ปูนซีเมนต์ พลาสติกและปิโตร เคมี เป็นต้นนอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อการแข็งค่าของเงินบาท ที่กระทบต่อขีดความสามารถในการส่ง ออกและปัญหาภัยแล้งทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐ ในเดือนเม.ย.คือ เร่งส่งเสริมการเปิดตลาดใหม่ในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม) โดยเน้นระดับเมืองใหญ่เพื่อขยายช่องทางการกระจายสินค้า พร้อมสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบการ SMEs เพื่อการลงทุนปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต อีกทั้งพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงาน และระบบการรับรองความสามารถของกำลังแรงงาน
นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อการแข็งค่าของเงินบาทที่กระทบต่อขีดความสามารถในการส่งออก และปัญหาภัยแล้งทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบส่งผลให้ต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น