สัมพันธ์ไทย-จีนปึ๊ก!ชี้เป็นจุดเด่น 2 ชาติ
สมาคม ผสข.ไทย-จีน จัดสัมมนา “44 ปีความสัมพันธ์ไทย-จีน : โลกแปรผันแต่มิตรภาพยั่งยืน” เชื่อความสัมพันธ์ทุกระดับแน่นปิ๊ก! ชี้นี่คือ “จุดเด่น” ของ 2 ชาติ แนะสื่อจีน-ไทยใช้พลังบวกเพื่อการสร้างสรรค์
สมาคมผู้สื่อข่าวไทยจีน ร่วมกับสมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ ไทย-จีน จัดสัมมนา “44 ปีความสัมพันธ์ไทย-จีน : โลกแปรผันแต่มิตรภาพยั่งยืน” โดยมีตัวแทนจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย นักธุรกิจและสื่อมวลชนไทยและจีน ร่วมงานเป็นจำนวนมาก ณ ห้องเจ้าพระยา ร.ร.เจ้าพระยาปาร์คถ.รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา
นายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทยจีน กล่าวรายงานเปิดการสัมมนาว่า ความสัมพันธ์ไทยจีนคงไม่จำกัดเฉพาะภาครัฐบาลและหน่วยงานราชการ หากยังรวมถึงภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาชน และสื่อมวลชน เห็นได้จากมูลค่าการค้าระหว่างกันที่เติบโตเรื่อยมา โดยปีที่ผ่านมา (61) พบว่ามีมูลรวมราว 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 2.4 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ มีการคาดการณ์กันว่าในปี 64 มูลค่าการค้าไทยจีนจะเพิ่มเป็น 1.4 แสนล้าน ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 4.2 ล้านล้านบาทขณะที่ตัวนักท่องเที่ยวจีนมาไทยในปี 61 มากกว่า 8 แสนคน และคาดว่าสิ้นปีนี้ 62 นี้ อาจทะลุถึง 11 ล้านคน ซึ่งนั่นสะท้อนว่าความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ มีความลึกซึ้งและสัมพันธ์กันมายาวนานมากกว่าความสัมพันธ์ทางการทูตสมัยใหม่ที่ครบปีที่ 44 ในครั้งนี้
ด้านนางหยาง หยาง ที่ปรึกษาฝ่ายการเมือง สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย กล่าวในหัวข้อ “มองอนาคตความสัมพันธ์ไทย-จีน และความคาดหวังต่อสื่อมวลชนจีนและไทย” ด้วยภาษาไทย ตอนหนึ่งว่า หากจะามว่าเจ้าหน้าที่สถานจีนฯในไทยที่มีกว่า 70 คน พูดหรือสื่อสารด้วยภาษาไทยสักกี่คน?คำตอบคือ มีเพียง 12-13 คนเท่านั้น แต่พวกเราทุกคน รวมถึงท่านทูตฯต่างพยายามเรียนรู้เพื่อสื่อสารกับคนไทยด้วยภาษาไทย โดยเข้าครอสฝึกอบรมทุกสัปดาห์ แต่ถึงตอนนี้ยังพูดหรือสื่อสารเป็นภาษาไทยได้ไม่มากมากนัก ทว่ายังมีอยู่ 1 ประโยคที่พวกเขาพูดได้ชัดถ้อยชัดคำ นั่นคือ “จีน-ไทย พี่น้องกัน”
สำหรับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ หากจะนับย้อนไปจริงๆ ก็ต้องย้อนกลับไปในสมัยฮั่นตะวันออก เมื่อกว่า 2,000 ปีเลยทีเดียว และความสัมพันธ์ดังกล่าวก็ผูกโยงมาจนถึงทุกวันนี้ โดยที่ผ่านมาเห็นได้ว่าทั้ง 2 ประเทศ มีความสัมพันธ์และให้ความร่วมมือกันในทุกมิติและทุกระดับตลอดหลายปีที่ผ่านมา เริ่มจากระดับประมุขและผู้นำประเทศ ระดับรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ จนถึงระดับนักธุรกิจและภาคประชาชน นั่นคือ “จุดเด่น” ของความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ
จากข้อมูลของบีโอไอระบุว่า มีการลงทุนจากจีนในปี 2018 (61) มากถึง 55,480 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2017 (60) ถึง 2.2 เท่า มากเป็นอันดับที่ 3 ของนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย สินค้าของไทย ไม่ว่าจะเป็นข้าว ยางพารา ทุเรียน ต่างเป็นที่ต้องการของคนจีน นอกจากนี้ ความร่วมมือในโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC จะช่วยยกระกับความร่วมมือในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีชั้นสูงร่วมกัน
“ทุกวันนี้มีนักศึกษาจากจีน เข้ามาศึกษาในประเทศไทยมากถึง 40,000 คน ขณะที่นักศึไทยเข้าไปศึกษาในจีนก็ไม่น้อยกว่า 30,000 คน ซึ่งนั่นก็เป็นหนึ่งความสำคัญที่จะช่วยยกระดับความร่วมมือในระดับและมิติต่างๆ ระหว่างกันในอนาคต”
นางหยาง หยาง กล่าวอีกว่า ทุกความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ ระหว่างจีนและไทยจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศไปสู้คำนิยามใหม่ที่ว่า “วิสัยทัศน์แห่งความสัมพันธ์สมันใหม่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก”
สำหรับความคาดหวังต่อบทบาทของสื่อจีนและไทยนั้น ตนเห็นว่าทุกวันนี้ บทบาทของสื่อมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องรวมถึงการนำเสนอข่าวสารและข้อมูลที่เป็นจริง ซึ่งที่ผ่านมา ทีสื่อมวลชนจีนที่เข้ามาทำงานในไทย และสื่อมวลชนในจีนเพิ่มมากขึ้นโดยตลอด และมีการนำเสนอข่าวสารและข้อมูลที่ถูกต้องตรงไปตรงมา จะบ้างที่นำเสนอได้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะมี้ป้าหมายอยู่แล้ว แต่ก็ถือเป็นส่วนน้อยที่จะต้องแก้ไขและทำความเข้าใจกันต่อไป อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปได้ ตนอยากเห็นสื่อมวลชนทั้งของจีนและไทย สร้างพลังบวกที่เข้มแข็งเพื่อนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมามากกว่า.