คลังเสนอเงื่อนไขพิเศษดูดนวัตกรรมโลก
กระทรวงการคลัง กำลังเข็นมาตรการพิเศษเพื่อดึงดูดนวัตตกรรมใหม่ๆ ของโลก เช่น การสร้างหุ่นยนต์ การผลิตสินค้าไบโอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมประเทศเทียบชั้นสิงคโปร์
“โครงการไบโอพลาสติก ซึ่งผลิตจากอ้อย ไม่ใช่ปิโตรเคมี ที่มีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของโลกถูกมาเลเซียดึงไปด้วยเสนอที่ดีมาก โดยคิดเป็นเงินเม็ดเงิน 20,000 ล้านบาท แต่ของไทยให้ข้อเสนอเพียง 10,000 ล้านบาท” นายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานคณะกรรมการพิจารณามาตรการส่งเสริมการลงทุน ที่แต่งตั้งโดย รมว.คลัง กล่าว
“จากนี้ไป ประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการลงทุนใหม่ๆ และเป็นนวัตกรรมของโลก เพื่อดึงดูดเทคโนโลยีของโลกมาอยู่ที่ประเทศไทย”
นายคณิศ กล่าวว่า ล่าสุดคณะกรรมการฯ ได้แบ่งการนวัตกรรมอยู่เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไออยู่แล้ว แต่ยังไม่ลงทุน ซึ่งจะต้องไปสำรวจว่าเป็นเพราะอะไรที่ยังไม่ลงทุน โดยพิจารณาจากโครงการลงทุนที่มีความสำคัญต่ออนาคตอุตสาหกรรมของประเทศ เช่น โครงการไบโอพลาสติก ที่ไทยถูกมาเลเซียชี้นำไปเมื่อปีที่แล้ว
“ไทยจำเป็นต้องมีมาตรการเสริมเพิ่มเติม เป็นรายอุตสาหกรรมไป เพื่อให้อุตสาหกรรมที่เป็นแนวโน้มอนาคตของโลกเข้ามาลงทุนในไทย เช่น การนำน้ำอ้อยมาทำเป็นไบโอพลาสติกก็จะเป็นการส่งเสริมวิจัย และพัฒนาพันธุ์อ้อย และช่วยยกระดับราคาผลผลิตอีกด้วย”
กลุ่มที่ 2 เป็นอุตสาหกรรมตามนโยบายการจัดตั้งคลัสเตอร์ของรัฐบาลในพื้นที่ 13 จังหวัด เพื่อให้อุตสาหกรรมที่อยู่ในแต่ละคลัสเตอร์ เป็นอุตสาหกรรมที่เป็นแนวโน้มในอนาคตของโลก และกลุ่มที่ 3 คือ การศักยภาพของประเทศที่จะสามารถเป็นที่ตั้งของฐานการผลิตอุตสาหกรรมในอนาคต ซึ่งขณะนี้ ได้คัดเลือกอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพแล้วประมาณ 4 -5 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์ ซึ่งปัจจุบัน ความต้องการหุ่นยนต์ในไทยมีความต้องการใช้แขนหุ่นยนต์ประมาณ 2,000 แขน แต่หากมีการโรงงานผลิตแขนหุ่นยนต์ ก็ควรจะมียอดการผลิตประมาณ 5,000 แขน ถึงคุ้มทุนที่ไทยจะสามารถสร้างโรงงาน โดยอีก 3,000 แขนก็ต้องส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
ขณะที่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการบิน ทั้งอุตสาหกรรมการซ่อม และการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ ทั้งการรักษาพยาบาล การผลิตอุปกรณ์การแพทย์ และการพัฒนาวิจัยยารักษาโรคนั้น ยอมรับว่า ไทยมีความโดดเด่นเหนือกว่าในเงื่อนของภูมิศาสตร์ แต่ขาดเทคโนโลยี
และสุดท้ายคือ อุตสาหกรรมที่เป็นไบโอ หรือชีวภาพ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เป็น Bio economy เพราะในปัจจุบัน ประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างในสหรัฐฯ และยุโรป กำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ต้องเป็น Bio เช่น ไบโอพสาสติกที่สามารถย่อยสลายเองได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
หากไทยไม่สามารถผลิตภัณฑ์ที่เป็น Bio ในอนาคตก็จะไม่สามารถส่งออกสินค้าไปประเทศเหล่านนี้ได้ ซึ่งหลายประเทศที่ทำการค้ากับสหรัฐฯ และยุโรป ได้รับเอามาตรฐานดังกล่าวแล้ว เช่น มาเลเซียและญี่ปุ่น ดังนั้นประเทศไทย จำเป็นต้องวาระแห่งชาติในเรื่องต่างๆ เหล่านี้
สำหรับแผนการของคณะกรรมการฯ คือ หากนักลงทุนต้องการอะไรเราก็พร้อมที่จะให้หมด นอกเหนือจากมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการลงทุนแล้ว ยังมีเรื่องที่เป็นมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี หรือ Non tax เช่น การที่รัฐบาลจะต้องสนับสนุนให้จัดตั้งกองทุนนวัตกรรมเพื่อเข้าไปร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมเหล่านั้น หรือการพัฒนาบุคลากรเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมเหล่า นั้น รวมถึงการใช้มาตรการทางภาษี เพื่อดึงดูดบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาทำงานในประเทศ ด้วยการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ปัจจุบันอัตราสูงสุดของไทยอยู่ที่ 35 % โดยมาตรฐานของสิงคโปร์เป็นตัวเปรียบเทียบ