สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 ก.ค. 68

1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.น่าน (107 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.สกลนคร (76 มม.) ภาคกลาง : จ.ชัยนาท (11 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (63 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (18 มม.) ภาคใต้ : จ.ระนอง (100 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
คาดการณ์ : วันที่ 6 ก.ค. 68 ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงมีฝนตกหนักมากบางแห่ง
ส่วนในช่วงวันที่ 7 –.8 ก.ค. 68 ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนและลาวตอนบน พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ดานัส”แล้ว คาดว่า จะเคลื่อนเข้าใกล้ไต้หวัน ในช่วงวันที่ 7 – 9 ก.ค. 68 โดยไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 57% ของความจุเก็บกัก (45,505 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 37% (21,461 ล้าน ลบ.ม.)
สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่อาจเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน โดยเน้นการลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วน พร้อมทั้งสร้างการรับรู้แก่ประชาชน ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือน และจัดเตรียมมาตรการช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและทันท่วงที
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 10/2568 ลงวันที่ 4 ก.ค. 68 เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขัง และระดับน้ำโขงเปลี่ยนแปลง ในวันที่ 6 – 12 ก.ค. 68 ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำท่วมขัง ดังนี้
1.1 ภาคเหนือ บริเวณ จ.เชียงราย (อ.เมืองเชียงราย แม่สาย พญาเม็งราย เวียงชัย เทิง เชียงของ เวียงแก่น และเชียงแสน) จ.น่าน (อ.เมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว ทุ่งช้าง ภูเพียง สองแคว เฉลิมพระเกียรติ เชียงกลาง ท่าวังผา และเวียงสา) จ.พะเยา (อ.เมืองพะเยา ดอกคำใต้ ปง เชียงคำ และเชียงม่วน) จ.ตาก (อ.ท่าสองยาง)
1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จ.เลย (อ.เมืองเลย นาด้วง ด่านซ้าย นาแห้ว และปากชม) จ.หนองคาย (อ.เมืองหนองคาย โพนพิสัย และรัตนวาปี) จ.บึงกาฬ (อ.เมืองบึงกาฬ เซกา บึงโขงหลง และปากคาด) จ.อุดรธานี (อ.เมืองอุดรธานี วังสามหมอ เพ็ญ สร้างคอม บ้านดุง และหนองหาน) จ.สกลนคร (อ.อากาศอำนวย และสว่างแดนดิน) จ.นครพนม (อ.ศรีสงคราม และนาทม) จ.ยโสธร (อ.เมืองยโสธร และมหาชนะชัย) จ.อุบลราชธานี (อ.โขงเจียม สิรินธร พิบูลมังสาหาร และศรีเมืองใหม่)
1.3 ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ชลบุรี (อ.บางละมุง และศรีราชา) จ.ระยอง (อ.เมืองระยอง บ้านค่าย ปลวกแดง และนิคมพัฒนา) จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี ขลุง ท่าใหม่ นายายอาม มะขาม และแหลมสิงห์) จ.ตราด (อ.เมืองตราด เขาสมิง คลองใหญ่ และบ่อไร่)
1.4 ภาคใต้ บริเวณ จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง สุขสำราญ กะเปอร์ ละอุ่น และกระบุรี) จ.พังงา (อ.คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง และท้ายเหมือง) จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จ.สุราษฎร์ธานี (อ.ชัยบุรี บ้านตาขุน และบ้านนาสาร)
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุเก็บกัก บริเวณ จ.ลำปาง น่าน พิษณุโลก สระบุรี สกลนคร อุดรธานี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ นครพนม ขอนแก่น นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี และกระบี่ และเร่งพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยโทง และอ่างเก็บน้ำห้วยซวง จ.สกลนคร อ่างเก็บน้ำหนองหญ้าม้า จ.กาฬสินธุ์ อ่างเก็บน้ำด่านชุมพล จ.ตราด รวมทั้งพิจารณาพร่องน้ำในแหล่งน้ำ ได้แก่ กว๊านพะเยา จ.พะเยา หนองหาร จ.สกลนคร และ หนองกุดทิง จ.บึงกาฬ เพื่อรองรับปริมาณน้ำหลากจากฝนที่ตกหนัก
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำอิง บริเวณ อ.เชียงคำ เทิง พญาเม็งราย ขุนตาล และเชียงของ จ.เชียงราย และแม่น้ำสาย บริเวณ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
4. เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีปริมาณฝนตกสะสม บริเวณสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ส่งผลให้ระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณพื้นที่จังหวัดริมแม่น้ำโขง ได้แก่ จ.เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ก.ค. 68