สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 25 พ.ค. 68

1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.อุทัยธานี (178 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ขอนแก่น (110 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (148 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ฉะเชิงเทรา (113 มม.) ภาคตะวันตก : จ.เพชรบุรี (63 มม.) ภาคใต้ : จ.นครศรีธรรมราช (228 มม.)
วันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยตอนบน กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักถึงหนักมาก
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 26 – 27 พ.ค. 68 ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงจะพาดผ่านประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบน ส่วนช่วงวันที่ 28 – 30 พ.ค. 68 ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากในภาคเหนือ เนื่องจากร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไป พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 55% ของความจุเก็บกัก (4,253 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 35% (20,094 ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด จำนวน 1 แห่ง ดังนี้ ภาคเหนือ : อ่างเก็บน้ำแม่จาง
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากกว่า 80% จำนวน 35 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ 9 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 แห่ง
ภาคกลาง 1 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และภาคใต้ 8 แห่ง
ทั้งนี้ สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และเตรียมแผนรองรับปริมาณน้ำที่อาจเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน โดยเน้นการลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วน เพื่อบรรเทาและลดความเสี่ยงเกิดอุทกภัยในพื้นที่
3. สถานการณ์อุทกภัย : ปภ. ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัย วันที่ 24 พ.ค. 68 ในพื้นที่ 3 จังหวัด 4 อำเภอ ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.แม่สาย และแม่ลาว) จ.เชียงใหม่ (อ.เมืองเชียงใหม่) และ จ.ลำปาง (อ.วังเหนือ)
4. มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 : สทนช. ติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 ดังนี้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยในพื้นที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย จ.แพร่ และ จ.น่าน พร้อมทั้งสั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกแห่งเตรียมพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย อุปกรณ์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ (ERT) ให้พร้อมออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่ได้รับการร้อง
กรมทางหลวง ดำเนินการตรวจสอบสภาพความเรียบร้อยของผิวทางต้องไม่มีหลุมบ่อ สำรวจพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติ ตรวจสอบสะพาน ท่อระบายน้ำ ร่องน้ำให้อยู่ในสภาพดี พร้อมเร่งขุดลอก ร่องระบายน้ำ กำจัดสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำ จัดเตรียมเครื่องจักร ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องสูบน้ำ และสิ่งอำนวยความปลอดภัย เพื่อรับมือและแก้ไขสถานการณ์ในช่วงฤดูฝนได้อย่างทันท่วงที พร้อมกับอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้เส้นทางการจราจรด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 24 พ.ค. 68