สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 24 พ.ค. 68

1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.อุตรดิตถ์ (133 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.บึงกาฬ (124 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (107 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (81 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (77 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (108 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 25 – 27 พ.ค. 68 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมกำลังแรงจะพาดผ่านประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบน หลังจากนั้น ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งและมีฝนตกหนักมากในภาคเหนือ เนื่องจากร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ช่วงวันที่ 27 – 29 พ.ค. 68 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศบังคลาเทศ
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 55% ของความจุเก็บกัก (44,270 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 35% (20,105 ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ : อ่างเก็บน้ำแม่จาง (72%)
สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่อาจเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน โดยเน้นการลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วน พร้อมทั้งสร้างการรับรู้แก่ประชาชน ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือน และจัดเตรียมมาตรการช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและทันท่วงที
3. ประกาศแจ้งเตือน :
1. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2568 ลงวันที่ 23 พ.ค. 68 เฝ้าระวังน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ในช่วงวันที่ 26 – 30 พ.ค. 68 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
(1) พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ดังนี้
ภาคเหนือ บริเวณ.จ.แม่ฮ่องสอน.เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จ.อุดรธานี บึงกาฬ นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร สกลนคร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคตะวันตก บริเวณ จ.กาญจนบุรี
ภาคตะวันออก บริเวณ จ.นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ บริเวณ จ.ชุมพร ระนอง และพังงา
(2) เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุเก็บกัก บริเวณ จ.เชียงใหม่ ลำพูน น่าน แพร่ พะเยา สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยภูมิ มุกดาหาร นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สระแก้ว ชลบุรี ตราด สุพรรณบุรี สระบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมทั้งเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำและแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนเตรียมพร้อมในการขนของขึ้นที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงที
2. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 7/2568 ลงวันที่ 23 พ.ค. 68 เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำ ในช่วงวันที่ 27 พ.ค. – 1 มิ.ย. 68 ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูง โดยคาดหมายระดับน้ำบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า และพื้นที่ใกล้เคียงอาจมีความสูงประมาณ 1.70 – 2.00 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง สูงกว่าระดับน้ำวิกฤติประมาณ 0.30 เมตร ประกอบกับอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม รวมถึงร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่าน ทำให้มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำจะเพิ่มสูงขึ้น บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง รวมถึงชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำ และแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) เกิดน้ำเอ่อล้นเข้าท่วม เนื่องจากน้ำทะเลหนุน รวมทั้งอาจเกิดสภาวะน้ำเค็มรุกล้ำและส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร บริเวณจังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร นครปฐม และสมุทรสงคราม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 พ.ค. 68