สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 พ.ค. 68

1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.แพร่ (83 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ชัยภูมิ (90 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด(74 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (82 มม.) ภาคกลาง : จ.สุพรรณบุรี (90 มม.) ภาคใต้ : จ.นราธิวาส (101 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และด้านตะวันตกของประเทศไทย ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ที่พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 22 – 26 พ.ค. 68 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 55% ของความจุเก็บกัก (44,277 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 35% (20,161 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศแจ้งเตือน : ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 5/2568 ลงวันที่ 20 พ.ค. 68 เฝ้าระวังน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน
น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม.ในช่วงวันที่ 23 – 26 พ.ค. 68 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ดังนี้
ภาคเหนือ บริเวณ.จ.แม่ฮ่องสอน.เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่.อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ กาฬสินธุ์ อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคตะวันตก บริเวณ จ.กาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี
ภาคตะวันออก บริเวณ จ.นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ บริเวณ จ.ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และนราธิวาส
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.เชียงใหม่ ลำพูน น่าน แพร่ พะเยา สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ หนองคาย สกลนคร ชัยภูมิ มุกดาหาร นครพนม นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สระแก้ว ชลบุรี ตราด สุพรรณบุรี สระบุรี.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมทั้งเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำและแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนเตรียมพร้อมในการขนของขึ้นที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงที
4. คุณภาพน้ำ ณ จุดเฝ้าระวัง แม่น้ำสายหลัก : น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 20 พ.ค. 68