สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 พ.ค. 68

1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคใต้ : จ.ชุมพร (121มม.) ภาคตะวันตก : จ.จ. กาญจนบุรี (112มม.) ภาคเหนือ : จ.จ.สุโขทัย (88 มม.) ภาคกลาง : สระบุรี (69มม.) ภาคตะวันออก : จ.ระยอง (68 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.หนองบัวลำภู (55 มม.)
วันนี้ : ภาคใต้และประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 15 – 17 พ.ค. 68 บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นต่อเนื่องและมีฝนตกหนัก
บางแห่ง เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ประกอบกับจะมีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง
2. คุณภาพน้ำ ณ จุดเฝ้าระวัง แม่น้ำสายหลัก :
น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน
น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน
3. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 55% ของความจุเก็บกัก (44,596 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 35% (20,386 ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ : อ่างเก็บน้ำแม่จาง
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากกว่า 80% จำนวน 34 แห่ง ดังนี้
สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่อาจเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน โดยเน้นการลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วน พร้อมทั้งสร้างการรับรู้แก่ประชาชน ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือน และจัดเตรียมมาตรการช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและทันท่วงที
4. ข่าวประชาสัมพันธ์: กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนในวันที่ 15 พ.ค. 68 ตามเกณฑ์ทางอุตุนิยมวิทยา 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกมากกว่า 60% ของพื้นที่และต่อเนื่อง 2) ลมชั้นบนที่ระดับความสูงประมาณ 1.5 กิโลเมตร เปลี่ยนทิศทางเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ 3) ลมชั้นบนที่ระดับความสูงประมาณ 10 กิโลเมตร เปลี่ยนทิศเป็นลมฝ่ายตะวันออก
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในปี 2568 ปริมาณฝนรวมปีนี้มากกว่าค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5 โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูถึงเดือน ก.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกชุกกว่าค่าเฉลี่ย 5 –10% ในช่วงครึ่งหลังของฤดู (ส.ค.- ต.ค.) ปริมาณฝนใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติ ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออก คาดว่าจะมีฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 10% ในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค. อาจเกิดฝนทิ้งช่วงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ในช่วง ส.ค.- ต.ค. เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีความเสี่ยงต่อพายุหมุนเขตร้อน โดยปีนี้คาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 1–2 ลูก โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 13 พ.ค. 68