สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 24 เม.ย. 68

1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมในบริเวณดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนและร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 26 – 29 เม.ย..68 ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามและทะเลจีนใต้ ทำให้มีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น สำหรับภาคใต้จะมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน จะทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 58% ของความจุเก็บกัก (46,687 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 39% (22,478 ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% จำนวน 14 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ : กิ่วลม แม่มอก และทับเสลา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคองลำนางรอง และสิรินธร ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ และกระเสียว ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล คลองสียัด และนฤบดินทรจินดา
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักน้อยกว่า 30% จำนวน 93 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ 11 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 52 แห่ง ภาคกลาง 5 แห่ง ภาคตะวันออก 13 แห่ง ภาคตะวันตก 10 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง
สทนช. บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการน้ำตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วนตลอดฤดูแล้ง และสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือน การให้ความช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประกาศเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำในช่วงวันที่ 28 เม.ย. – 3 พ.ค. 68 ดังนี้
1. จากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นและอาจไหลเข้าท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง รวมถึงชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ)
2. เฝ้าระวังน้ำเค็มรุกล้ำส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรจึงขอให้เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร นครปฐม และสมุทรสงคราม
4. คุณภาพน้ำ ณ จุดเฝ้าระวัง แม่น้ำสายหลัก
น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค : แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
น้ำเพื่อการเกษตร : แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
5. การดำเนินการตามมาตรการ
สทนช. ติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2567/2568 เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีน้ำใช้เพียงพอสำหรับทุกกิจกรรม และการช่วยเหลือพื้นที่ประสบปัญหาด้านน้ำ ดังนี้
1. กรมชลประทาน ดำเนินการประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยผาวังในพื้นที่ ต.นาเหล่า อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู เพื่อสอบถามปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่และจะกำหนดแนวทางแก้ไขต่อไป
2. กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ติดตามการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ณ ฝายน้ำล้นคลองทัพนคร (ทุ่งผี) ต.ปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ใช้น้ำในด้านการเกษตร (ผลไม้และพืชเศรษฐกิจ) จำนวน 9,975 ไร่ และช่วยเหลือประชาชนในด้านอุปโภคบริโภค จำนวน 2,800 ครัวเรือน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 23 เม.ย. 68