สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 เม.ย. 68

1. สรุปสถานการณ์น้ำ และวันนี้ : ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน.ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คาดการณ์ : ในช่วงวันที่ 23 – 25 เม.ย. 68 ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 58% ของความจุเก็บกัก (46,946 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 39% (22,736 ล้าน ลบ.ม.)
-เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 12 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ : กิ่วลม แม่มอก และทับเสลา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง และสิรินธร
ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ และกระเสียว
ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล และคลองสียัด
ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล และคลองสียัด
-เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักน้อยกว่า 30% จำนวน 92 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ 11 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 52 แห่ง ภาคกลาง 5 แห่ง ภาคตะวันออก 12 แห่ง ภาคตะวันตก 10 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง
สทนช. บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการน้ำตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วนตลอดฤดูแล้ง และสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือน การให้ความช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ
3. ข่าวประชาสัมพันธ์:
กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกับ บริษัท สยาม ทีชี เทคโนโลยี จำกัดดำเนินการซักซ้อมความเข้าใจระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) ปี 2568 แก่ประชาชนในเขตพื้นที่ อ.แม่อาย อ.ดอยสะเก็ด อ.สันป่าตอง และ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน และ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในระบบการทำงานของเครื่องมือเตือนภัย และลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เสี่ยง
กรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการระบบท่อส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบ เพชรบุรี-หัวหิน (ส่วนขยาย) จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำดิบ เพื่อการผลิตน้ำประปาในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ไม่น้อยกว่า 5.40 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี มีประชาชนที่ได้รับประโยชน์ 125,000 คน และรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวได้สูงสุด 15,000 คนต่อวัน
4.การให้ความช่วยเหลือ
สทนช. ติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การช่วยเหลือพื้นที่ประสบปัญหาด้านน้ำ ดังนี้
กองทัพบก ดำเนินการลงพื้นที่แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ตามโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ณ ต.ปรุใหญ่ อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา จำนวน 12,000 ลิตร และดำเนินการเข้าแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค ให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำ จำนวน 6 หลังคาเรือน ในพื้นที่ ต.ดอนมะเกลือ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
5. คุณภาพน้ำ ณ จุดเฝ้าระวัง แม่น้ำสายหลัก : น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 เม.ย. 68