สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 19 เม.ย. 68

1. สรุปสถานการณ์น้ำ และวันนี้ : ลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : วันที่ 20 เม.ย..68 ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ จะทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 21 – 24 เม.ย..68 ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้จะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 59% ของความจุเก็บกัก (47,282 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 40% (23,137 ล้าน ลบ.ม.)
-เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 12 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ : กิ่วลม แม่มอก และทับเสลา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง และสิรินธร
ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ และกระเสียว
ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล และคลองสียัด
ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล และคลองสียัด
-เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักน้อยกว่า 30% จำนวน 91 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ 12 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 50 แห่ง ภาคกลาง 5 แห่ง ภาคตะวันออก 12 แห่ง ภาคตะวันตก 10 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง
สทนช. บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการน้ำตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วนตลอดฤดูแล้ง และสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือน การให้ความช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ
3. สถานการณ์เพาะปลูกพืช : แผนและผลการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ปี 2567/2568 ทั้งประเทศ ณ วันที่ 18 เม.ย. 68 แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ทั้งในและนอกเขตชลประทาน 15.38 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 15.42 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 101 ของแผนการเพาะปลูก ซึ่งเกินกว่าแผนการเพาะปลูก จำแนกได้ดังนี้
แผนการเพาะปลูกข้าวนาปรังทั้งประเทศ 12.73 ล้านไร่เพาะปลูกแล้ว 13.81 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 108 ของแผนการเพาะปลูก ซึ่งเกินกว่าแผนการเพาะปลูก และปัจจุบันข้าวนาปรังได้เก็บเกี่ยวแล้ว 7.83 ล้านไร่
แผนการเพาะปลูกพืชไร่ พืชผักทั้งประเทศ 2.65 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 1.61 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 61 ของแผนการเพาะปลูก
สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ทั้งในและนอกเขตชลประทาน 8.81 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 9.12 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 104 ของแผนการเพาะปลูกซึ่งเกินกว่าแผนการเพาะปลูก จำแนกได้ดังนี้
แผนการเพาะปลูกข้าวนาปรัง 8.05 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 8.65 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 107 ของแผนการเพาะปลูก ซึ่งเกินกว่าแผนการเพาะปลูก และปัจจุบันข้าวนาปรังได้เก็บเกี่ยวแล้ว 6.66 ล้านไร่
แผนการเพาะปลูกพืชไร่ พืชผัก 0.76 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.47 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 62 ของแผนการเพาะปลูก
ทั้งนี้ สทนช. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการติดตามสถานการณ์ด้านการเพาะปลูกและการใช้น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งดำเนินการประชาสัมพันธ์ สื่อสารสร้างความเข้าใจ และลงพื้นที่เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำอย่างประหยัดและเหมาะสมตามแผนการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกเกินแผนการเพาะปลูก นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรผู้ใช้น้ำมีบทบาทในการบริหารจัดการน้ำอย่างเข้มแข็ง รวมถึงการรับฟังปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ เพื่อนำมาวิเคราะห์และกำหนดแนวทางในการให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
4. ข่าวประชาสัมพันธ์ : สทนช. ติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 ดังนี้
กองทัพบก ดำเนินโครงการก่อสร้างแนวป้องกันน้ำชั่วคราว-กึ่งถาวร กั้นขอบแม่น้ำสายในเขตพื้นที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร โดยเริ่มโครงการก่อสร้างฯ ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. 68 และคาดแล้วเสร็จวันที่ 15 มิ.ย. 68 และดำเนินการขุดลอกแม่น้ำรวกในเขตพื้นที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ลงไปจนถึงสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โดยมีหน่วยงานทหารต่างๆ ให้การสนับสนุนงานสำรวจหน้าตัดลำน้ำและขุดลอกแม่น้ำรวกเป็นช่วงๆ เพื่อลดความดันของน้ำและตลิ่งทรุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 18 เม.ย. 68