สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 12 ก.พ. 68
![สรุปสถานการณ์น้ำ](https://aec10news.com/wp-content/uploads/2025/02/IMG_4714-1024x768.jpeg)
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน
คาดการณ์ : ในวันที่ 13-17 ก.พ. 68 ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อน ทำให้คลื่นลมมีกำลังอ่อนลง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 71% ของความจุเก็บกัก (56,934 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 56% (32,721 ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 4 แห่ง ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ สิรินธร และลำตะคอง ภาคตะวันออก : คลองสียัด
3. คุณภาพน้ำ : แม่น้ำสายหลัก 4 สาย (เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. แจ้งเตือน : ประกาศ เฝ้าระวัง น้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำช่วงวันที่ 6 – 16 ก.พ. 68
1. จากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นและอาจไหลเข้าท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง รวมถึง ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ)
2. เฝ้าระวังน้ำเค็มรุกล้ำส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร จึงขอให้เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร นครปฐม และสมุทรสงคราม
5. ข่าวประชาสัมพันธ์ : วานนี้ (11 ก.พ. 68) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมสัมมนาถอดบทเรียนการบริหารจัดการน้ำและมาตรการรับมือในช่วงฤดูฝน ปี 2567.โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการลุ่มน้ำและเครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำ นักวิชาการ ภาคประชาชน และสื่อมวลชน.ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ในการประชุมครั้งนี้ ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค และสะท้อนผลการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา ที่ได้มีการดำเนินการตั้งแต่ก่อนเข้าฤดูฝนต่อเนื่องจนสิ้นสุดฤดูฝน โดยในช่วงก่อนฤดูฝน ได้ดำเนินการคาดการณ์ฝนและพายุ กำหนดแผนบริหารจัดการน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์ พร้อมทั้งกำหนดมาตรการรับมือในช่วงฤดูฝน เสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) พิจารณาให้ความเห็นชอบและเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการเตรียมความพร้อมรับมือเชิงป้องกัน รวมถึงการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ล่วงหน้าอย่างต่อเนื่องสำหรับในช่วงระหว่างฤดูฝน ได้มีการวิเคราะห์ ติดตาม ประเมิน สภาพอากาศ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้สถานการณ์และการให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนมีการประเมินผลการบริหารจัดการน้ำ เพื่อปรับปรุงกลไกการแจ้งเตือนอุทกภัยในปีถัดไป
นอกจากนี้ ยังได้มีการรายงานผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน.ปี 2567 และการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในภาคต่างๆ ซึ่งได้ดำเนินการตามมาตรการอย่างเคร่งครัด สามารถบรรเทาผลกระทบน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สทนช. จะนำข้อคิดเห็น ปัญหาและอุปสรรค และข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนา ไปประกอบการจัดทำมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 ให้ครอบคลุมทุกด้านเพื่อให้สามารถป้องกันและบรรเทาภัยจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 ก.พ. 68