สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 ม.ค. 68
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนลดลง
คาดการณ์ : วันที่ 22 – 25 ม.ค. 68 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนลดลง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 75% ของความจุเก็บกัก (60,263 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 62% (36,045 ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 3 แห่ง ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ สิรินธร และลำตะคอง
3. คุณภาพน้ำ : แม่น้ำสายหลัก 4 สาย (เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. แจ้งเตือน : ประกาศ เฝ้าระวัง น้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำช่วงวันที่ 11 – 21 มกราคม 2568
1. อิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นและอาจไหลเข้าท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง รวมถึงชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำ และแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ)
2. เฝ้าระวังน้ำเค็มรุกล้ำส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร จึงขอให้เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง และน้ำเค็มรุกล้ำในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร นครปฐม และสมุทรสงคราม
5.แผนและผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง : สทนช. ติดตามสถานการณ์น้ำทั้งประเทศ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การ 30,601ล้าน ลบ.ม. (65%) ผลการจัดสรรน้ำทั้งฤดู (ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.67 ถึงปัจจุบัน) สะสม 7,955 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 37% (แผนฯ ทั้งฤดู 21,626 ล้าน ลบ.ม.) และระบายน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำในอ่างฯ สะสม 392 ล้าน ลบ.ม.เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (อ่างฯ ภูมิพล สิริกิติ์แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำใช้การ 12,363 ล้าน ลบ.ม. (68%) ผลการจัดสรรน้ำทั้งฤดู สะสม 3,800 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 45% (แผนฯ ทั้งฤดู 8,500 ล้าน ลบ.ม.) และระบายน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำในอ่างฯ สะสม 76 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ EEC (อ่างฯ บางพระ หนองปลาไหล และประแสร์) มีปริมาณน้ำใช้การ 413 ล้าน ลบ.ม. (78%) ผลการจัดสรรน้ำทั้งฤดู สะสม 126 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 28% (แผนฯ ทั้งฤดู 456 ล้าน ลบ.ม.) ทั้งนี้ สทนช. ได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนและลำดับความสำคัญของการใช้น้ำ เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ให้เพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งนี้
6. การเตรียมการรับมือ : เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 68 กรมชลประทาน จัดประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน และ ผ่านระบบ Video.Conference พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และและแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ปัจจุบันยังอยู่ในช่วงบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ได้กำชับไปยังโครงการชลประทานทั่วประเทศเดินหน้าบริหารจัดการน้ำตามแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้งอย่างเคร่งครัด พิจารณาปรับแผนการระบายน้ำให้มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ด้วยความประณีต ควบคู่ไปกับการจัดหาแหล่งน้ำสำรองและเก็บกักน้ำให้มากที่สุด ตลอดจนขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกันรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการใช้งานในทุกกิจกรรมตลอดช่วงฤดูแล้งนี้ ต่อเนื่องไปจนถึงต้นฤดูฝนหน้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 20 ม.ค. 68