สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 ธ.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลงในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณช่องแคบมะละกา มีแนวโน้มเคลื่อนออกไปทางเกาะสุมาตรา ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ในวันที่ 7-11 ธ.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกิดขึ้น หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง กับมีลมแรง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 82% ของความจุเก็บกัก (65,682 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 72% (41,465 ล้าน ลบ.ม.) เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 3 แห่ง ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ ลำตะคอง และสิรินธร
3. คุณภาพน้ำ : แม่น้ำสายหลัก 4 สาย (เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. ประกาศ : ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 21/2567.ลงวันที่ 2 ธ.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 5 – 11 ธ.ค. 67 ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขังในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จ.ชุมพร ระนอง ภูเก็ต ตรัง สตูล สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก ที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่โดยเฉพาะเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ปัจจุบันปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีความเสี่ยงอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของเขื่อน ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบบริเวณท้ายเขื่อนน้อยที่สุด และให้คำนึงถึงความปลอดภัยของเขื่อนด้วย
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขาของ คลองชุมพร แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตาปี คลองท่าดี คลองชะอวด แม่น้ำตรัง คลองลำ คลองท่าแนะ คลองอู่ตะเภา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส
5.สถานการณ์เพาะปลูกพืช: แผนและผลการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ปี 2567/68 ทั้งประเทศ แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ทั้งในและนอกเขตชลประทาน 15.38 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 3.52 ล้านไร่ (23%) อยู่ในแผนฯ จำแนกได้ดังนี้
– แผนปลูกข้าวนาปรังทั้งประเทศ 12.73 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 3.13 ล้านไร่ (25%)
– แผนการเพาะปลูกพืชไร่ พืชผักทั้งประเทศ 2.65 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.39 ล้านไร่ (15%) ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ทั้งในและนอกเขตชลประทาน 8.81 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 2.65 ล้านไร่ (30%) อยู่ในแผนฯ จำแนกได้ดังนี้
– แผนปลูกข้าวนาปรัง 8.05 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 2.49ล้านไร่ (31%)
– แผนการเพาะปลูกพืชไร่ พืชผัก 0.76 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.16 ล้านไร่ (21%) ลุ่มน้ำแม่กลอง แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ทั้งในและนอกเขตชลประทาน 1.12 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.03 ล้านไร่ (3%) อยู่ในแผนฯ จำแนกได้ดังนี้
– แผนปลูกข้าวนาปรัง 0.86 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.02 ล้านไร่ (2%)
– แผนการเพาะปลูกพืชไร่ พืชผัก 0.26 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.01 ล้านไร่ (4%)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 ธ.ค. 67