สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 พ.ย. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง และประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
พายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง”บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และมีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าใกล้ตอนใต้ของเกาะไหหลำ ประเทศจีน และชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 11-12 พ.ย. 67 คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 82% ของความจุเก็บกัก (66,047 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 72% (41,891 ล้าน ลบ.ม.) เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 3 แห่ง ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : น้ำพุง จุฬาภรณ์ และลำตะคอง
3. คุณภาพน้ำ : แม่น้ำสายหลัก 4 สาย (เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากฝดินถล่ม : พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคใต้ จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
5. สถานการณ์น้ำ : สทนช.ติดตามอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะนี้ โดยมีอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากต้องเฝ้าระวังในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 7 แห่ง ดังนี้
อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ที่มีน้ำมาก (80-100%) 4 แห่ง ได้แก่
1. อ่างเก็บน้ำบางกำปรัด อ.เขาพนม จ.กระบี่
2. อ่างเก็บน้ำบางวาด อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
3. อ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
4. อ่างเก็บน้ำคลองกะทะ อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต
อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ที่มีน้ำมาก (>100%) 2 แห่ง ได้แก่
1. อ่างเก็บน้ำห้วยลึก อ.ปลายพระยา กระบี่
2. อ่างเก็บน้ำคลองหยา อ.ปลายพระยา กระบี่ และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก (80-100%) จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองสวนหนัง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้ สทนช. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำและควบคุมระดับน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์
กรมชลประทาน วางแผนการจัดสรรน้ำในฤดูแล้ง ปี 2567/2568 ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน โดยบริหารจัดการน้ำตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
1.เพื่อการอุปโภค-บริโภค 123.28 ล้าน ลบ.ม. (25%)
2.เพื่อรักษาระบบนิเวศ 96.44 ล้าน ลบ.ม. (19%)
3.เพื่อการเกษตร 242.81 ล้าน ลบ.ม. (49%)
4. เพื่อการอุตสาหกรรม และอื่นๆ 33.84 ล้าน ลบ.ม. (7%)
ทั้งนี้ยังได้สำรองน้ำไว้ใช้สำหรับต้นฤดูฝน (กรณีฝนทิ้งช่วง) พร้อมมีการวางแผนการบริหารจัดการน้ำตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัดเพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับทุกกิจกรรมตามแผนตลอดช่วงฤดูแล้งนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 พ.ย. 67