สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 พ.ย. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกทำให้มีฝนฟ้าคะนองตามแนวชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางและมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตามแนวร่องมรสุม ในขณะที่มีลมตะวันออก เฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำ อ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 82% ของความจุเก็บกัก (65,974 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 72% (41,778 ล้าน ลบ.ม.) เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 3 แห่ง ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : น้ำพุง จุฬาภรณ์ และลำตะคอง
3. คุณภาพน้ำ : แม่น้ำสายหลัก 4 สาย (เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ.ฉบับที่ 18/2567 ลงวันที่ 1 พ.ย. 67 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ช่วงวันที่ 2-6 พ.ย. 67 สทนช. ประกาศเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขังในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง พัทลุงนครศรีธรรมราช และสงขลา ทั้งนี้ควรเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80..บริเวณ จ.ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก รวมทั้งเฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณด้านท้ายน้ำบริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ คลองบางสะพาน คลองชุมพร แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตาปี คลองชะอวด คลองลำ คลองท่าแนะ และแม่น้ำตรัง
5. สถานการณ์น้ำ : พื้นที่ภาคใต้ ช่วงวันที่ 4 – 6 พ.ย.67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางและตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สทนช. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีน้ำมาก (80-100%) ในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 7 แห่ง ดังนี้
อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย
1. อ่างเก็บน้ำบางกำปรัด อ.เขาพนม จ.กระบี่
2. อ่างเก็บน้ำห้วยลึก อ.ปลายพระยา กระบี่
3. อ่างเก็บน้ำคลองหยา อ.ปลายพระยา กระบี่
4. อ่างเก็บน้ำบางวาด อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
5. อ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
6. อ่างเก็บน้ำคลองกะทะ อ. เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองสวนหนัง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้ สทนช. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำและควบคุมระดับน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์รวมทั้งต้องสำรองน้ำใช้ให้เพียงพอสำหรับฤดูแล้งด้วย
พื้นที่ภาคกลาง กรมชลประทานปรับลดปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จากอัตรา 1,102 ลบ.ม./วินาที เหลืออัตรา 1,050 ลบ.ม./วินาที ในวันที่ 4 พ.ย. 67 เวลา 01.00 น. และคงอัตราดังกล่าวต่อเนื่อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 3 พ.ย. 67