สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 30 ต.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.อุทัยธานี (49 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ชัยภูมิ (34 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (83 มม.) ภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรี (37 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (79 มม.) ภาคใต้ : จ.นครศรีธรรมราช (103 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือบริเวณทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนกลาง และอ่าวไทย ส่งผลทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 31 ต.ค. – 4 พ.ย. 67ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็น ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 82% ของความจุเก็บกัก (65,793 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 72% (41,597 ล้าน ลบ.ม.)
3. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (29 ต.ค. 67) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมพิธีลงนามเอกสารเริ่มโครงการ “ยกระดับขีดความสามารถในการกำกับดูแลการถือครองทรัพยากรน้ำตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร ความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการมีส่วนร่วมทางสังคม” (ScaleWat) ร่วมกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณของประเทศเยอรมนี เพื่อขับเคลื่อนแนวทางการจัดการน้ำของประเทศไทย โดยคำนึงถึงการจัดสรรน้ำอย่างเท่าเทียมและปรับปรุงการเข้าถึงทรัพยากรน้ำ ส่งเสริมความมั่นคงด้านน้ำและอาหาร รวมทั้งความครอบคลุมมิติทางสังคม ด้วยการประเมินการถือครองทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ทำให้การจัดสรรและการใช้ทรัพยากรน้ำสอดคล้องกับความต้องการอย่างยั่งยืน โครงการนี้ยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้กรอบการบริหารจัดการที่ตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะของแต่ละภูมิภาคได้
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศนำร่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีพื้นที่นำร่อง 2 แห่ง คือ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างปี 2567 – 2569
4. การแจ้งเตือนเฝ้าระวัง : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เตือน เฝ้าระวัง!!! น้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 2–12 พ.ย. 67เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำมีระดับเพิ่มสูงขึ้น จึงมีโอกาสเกิดน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ)จึงขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงดังกล่าวในจังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และสมุทรสงคราม
5. สถานการณ์อุทกภัย : วันที่ 29 ต.ค. 67 ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน ผักไห่ บางซ้าย และบางไทร) จ.สุพรรณบุรี (อ.เมืองฯ สามชุก อู่ทอง บางปลาม้า และสองพี่น้อง) และ จ.นครปฐม (อ.เมืองฯ นครชัยศรี บางเลน ดอนตูม สามพราน และกำแพงแสน)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 ต.ค. 67