สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ต.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคตะวันตก : จ.เพชรบุรี (139) ภาคใต้ : จ.ยะลา (101) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.อุบลราชธานี (97) ภาคเหนือ : จ.เชียงราย (64) ภาคตะวันออก : จ.ปราจีนบุรี (60) ภาคกลาง : จ.สระบุรี (53)
สภาพอากาศวันนี้ : ลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
คาดการณ์ :.ช่วงวันที่ 11 – 15 ต.ค. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยบริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนยังคงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 78% ของความจุเก็บกัก (62,972 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 66% (38,781 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประกาศ เฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 9 – 12 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน
ในขณะที่ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ต้องเฝ้าระวัง อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง บริเวณ จ.ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 67 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. เป็นประธานการประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ โดยคาดว่าในระยะนี้ปริมาณฝนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือจะลดลง โดยมีแนวโน้มที่ปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 12 – 14 ต.ค. 67 บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร มีความเสี่ยงเกิดน้ำท่วมจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ในช่วงวันที่ 13 – 24 ต.ค. 67 ซึ่งปัจจุบันท้ายเขื่อนเจ้าพระยา มีอัตราการระบาย 2,200 ลบ.ม./วินาที
โดยที่ประชุมมีมติร่วมกันในการรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในระดับปัจจุบัน คือ +16.50 ม.รทก. ซึ่งลดลงจาก +17.30 ม.รทก. และทยอยลดอัตราการระบาย ในวันนี้ (10 ต.ค. 67) ในอัตรา 50 – 100 ลบ.ม./วินาที เพื่อลดผลกระทบบริเวณท้ายเขื่อน ตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ ปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ สทนช. เตรียมพิจารณาตั้งศูนย์ส่วนหน้าในภาคใต้เพื่อดำเนินงานเชิงรุก ทั้งคาดการณ์สถานการณ์และแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ โดยได้มีการถอดบทเรียนจากการดำเนินงานในฤดูฝนที่ผ่านมาเพื่อพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในภาคใต้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้มีการเร่งระบายน้ำจากเขื่อนที่มีปริมาณน้ำมากในระยะที่ยังไม่ได้ฝนตกหนักมากนัก โดยต้องไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำด้วย
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 10 ต.ค. 67 ในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ แม่สาย แม่ลาว เวียงป่าเป้า เวียงชัย และเชียงแสน) จ.เชียงใหม่ (อ.เมืองฯ หางดง สารภี และสันป่าตอง) จ.ลำพูน (อ.เมืองฯ และป่าซาง) จ.ลำปาง (อ.เถิน) จ.ตาก (อ.สามเงา และบ้านตาก) จ.พิษณุโลก (อ.เมืองฯ วัดโบสถ์ วังทอง พรหมพิราม บางระกำ บางกระทุ่ม และนครไทย) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย กงไกรลาศ คีรีมาศ ทุ่งเสลี่ยม และสวรรคโลก) จ.นครสวรรค์ (อ.เมืองฯ) จ.อุดรธานี (อ.เมืองฯ และสร้างคอม) จ.กาฬสินธุ์(อ.ยางตลาด หนองกุงศรี ท่าคันโท สหัสขันธ์ และ ฆ้องชัย) จ.ชัยภูมิ (อ.คอนสวรรค์ ซับใหญ่ และจัตุรัส) จ.มหาสารคาม (อ.เมืองฯ และกันทรวิชัย) จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ และสว่างวีระวงศ์) จ.สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ พรหมบุรี และอินทร์บุรี) จ.สุพรรณบุรี (อ.เมืองฯ เดิมบางนางบวช สามชุก ศรีประจันต์ บางปลาม้า และสองพี่น้อง) จ.อ่างทอง (อ.เมืองฯ ป่าโมก วิเศษชัยชาญ และไชโย) จ.ปทุมธานี(อ. เมืองฯ และสามโคก) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน บางปะหัน ผักไห่ เสนา และบางไทร) และ จ.นครปฐม (อ.นครชัยศรี กำแพงแสน และสามพราน)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 9 ต.ค. 67