สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 ก.ย.67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.พะเยา (106 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (107 มม.) ภาคกลาง : จ.สมุสงคราม (45 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (263 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (44 มม.) ภาคใต้ : จ.ภูเก็ต (262 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และอ่าวไทยทำให้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 21 – 22 ก.ย. 67 พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตอนบน ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้
2. สทนช.ประกาศ ฉบับที่ 14/2567 ลงวันที่ 11 ก.ย. 67 เรื่อง แจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงวันที่ 12 – 18 ก.ย. 67 ดังนี้
จ.เชียงราย บริเวณสถานีเชียงแสน อ.เชียงแสน ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 0.50 – 0.70 ม. ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 3.40 ม.
จ.เลย บริเวณสถานีเชียงคาน อ.เชียงคาน ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.00 – 3.60 ม. และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 0.50 – 1.50 เมตร ในช่วงวันที่ 13 – 16 ก.ย. 67
จ.หนองคาย บริเวณสถานีหนองคาย อ.เมืองหนองคาย และจ.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.50 – 3.90 ม. และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 1.50 – 2.50 ม. ในช่วงวันที่ 13 – 16 ก.ย. 67
จ.นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.00 – 2.60 ม. ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 0.50 – 1.30 ม.
ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดริมแม่น้ำโขง เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำโขงและริมลำน้ำบางสาขา
3. สถานการณ์น้ำ วานนี้ (16 ก.ย. 67) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.) ครั้งที่ 1 / 2567 โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนที่สำคัญ และสถานการณ์การระบายน้ำ รายงานการพยากรณ์และแนวการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงรายงานการช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเห็นชอบการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) โดยนายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการ ดังนี้
1. ขอให้ ศปช. ติดตามสถานการณ์ดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานและหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นให้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที
2. ให้ คอส. มีการประชุมติดตามงานจนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลาย
3. ขอให้ ศปช. ประเมินสถานการณ์และกำหนดการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรี เพื่อติดตาม สั่งการ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้ประชาชนได้ทันที
4. ขอให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเร่งรัดมาตรการฟื้นฟูเยียวยา โดยกำหนดกรอบระยะเวลาให้ชัดเจน รวมถึงการเยียวยาขอให้ครอบคลุมถึงกลุ่มชาติพันธ์ุ
5. ขอให้กรมทรัพยากรธรณี ชี้จุดเสี่ยง และมีการซักซ้อมในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีภัย
6. ขอให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการประชาสัมพันธ์การรับรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่และขอให้กองทัพร่วมกับกรมอาชีวศึกษาระดมกำลังเข้าไปช่วยซ่อมแซมบ้านเรือนของประชาชน รวมถึงอาคารสถานที่ราชการโดยเร็ว
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 16 ก.ย. 67 ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่จ.เชียงราย (อ.แม่สาย แม่ฟ้าหลวง แม่จัน เชียงแสน ดอยหลวง เทิง เมืองฯ เวียงแก่น และเชียงของ) จ.สุโขทัย (อ.กงไกรลาศ) จ.พิษณุโลก (อ.เมืองฯ บางระกำ และพรหมพิราม) จ.หนองคาย (อ.เมืองฯ สังคม ท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ และรัตนวาปี) จ.อุดรธานี (อ.นายูง น้ำโสม หนองหาน เมืองฯ และโนนสะอาด) จ.บึงกาฬ (อ. โซ่พิสัย บึงโขงหลง เซกา พรเจริญ ปากคาด เมืองฯ บุ่งคล้า และศรีวิไล) จ.ปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ และประจันตคาม) จ.อ่างทอง (อ.วิเศษชัยชาญ) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.บางบาล บางปะหัน ผักไห่ เสนา พระนครศรีอยุธยา บางไทร และบางปะอิน) จ.เลย (อ.ปากชม และเชียงคาน) จ.พังงา (คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง และเมืองฯ) จ.ชุมพร (อ.พะโต๊ะ) จ.ภูเก็ต (อ.เมืองฯ และถลาง) จ.สตูล (อ.ควนโดน เมืองฯ ท่าแพ และมะนัง)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 16 ก.ย. 67