สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 ก.ย. 67

1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.แม่ฮ่องสอน (139 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.อุดรธานี (160 มม.) ภาคกลาง : จ.สระบุรี (62 มม.) ภาคตะวันออก : จ.นครนายก (122 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (40 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (175 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ :.ช่วงวันที่ 15 – 17 ก.ย. 67.ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก เฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 65% ของความจุเก็บกัก (52,670 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 49% (28,489 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : สทนช.ประกาศ ฉบับที่ 14/2567 ลงวันที่ 11 ก.ย. 67 เรื่อง แจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงวันที่ 12 – 18 ก.ย. 67 ดังนี้ จ.เชียงราย บริเวณสถานีเชียงแสน อ.เชียงแสน ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 0.50 – 0.70 ม. ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 3.40 ม. จ.เลย บริเวณสถานีเชียงคาน อ.เชียงคาน ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.00 – 3.60 ม. และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 0.50 – 1.50 เมตร ในช่วงวันที่ 13 – 16 ก.ย. 67 จ.หนองคาย บริเวณสถานีหนองคาย อ.เมืองหนองคาย และจ.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.50 – 3.90 ม. และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 1.50 – 2.50 ม. ในช่วงวันที่ 13 – 16 ก.ย. 67 จ.นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.00 – 2.60 ม. ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 0.50 – 1.30 ม.
ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดริมแม่น้ำโขง เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำโขงและริมลำน้ำบางสาขาของประเทศไทยที่ไม่สามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงได้โดยสะดวก และประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงและแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (13 ก.ย. 67) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงราย และเป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ครั้งที่ 1/2567 พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามข้อสั่งการของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาระบบประปาที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งคาดว่าจะสามารถกลับมาสูบจ่ายน้ำให้ประชาชนได้ภายในวันที่ 14 กันยายน 2567 นอกจากนี้ สทนช. ได้ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมสำหรับการระบายน้ำในพื้นที่ประสบอุทกภัย โดยสถานการณ์น้ำในพื้นที่เชียงรายมีแนวโน้มลดลงและคาดว่าจะกลับสู่ภาวะปกติภายในวันที่ 15-16 กันยายนนี้ โดยมีแผนเร่งระบายน้ำ โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของ GISTDA เข้าสนับสนุนพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบ
5. สถานการณ์น้ำท่วม : สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 13 ก.ย. 67 ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ จ.แม่ฮ่องสอน (อ.สบเมย) จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ เทิง ขุนตาล พญาเม็งราย เชียงของ และแม่สาย) จ.เชียงใหม่ (อ.แม่อาย และฝาง) จ.ตาก (อ.แม่สอด แม่ระมาด ท่าสองยาง และพบพระ) จ.สุโขทัย (อ.กงไกรลาศ) จ.พิษณุโลก (อ.เมืองฯ บางระกำ และพรหมพิราม) จ.เพชรบูรณ์ (อ.หนองไผ่ และชนแดน) จ.เลย (อ.ปากชม เชียงคาน ท่าลี่ และนาด้วง) จ.อ่างทอง (อ.วิเศษชัยชาญ) และ จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา บางบาล บางปะหัน ผักไห่ บางไทร พระนครศรีอยุธยา และบางปะอิน)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 13 ก.ย. 67