สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ก.ย. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.ตาก (89 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ชัยภูมิ (86 มม.) ภาคกลาง : จ.สมุทรปราการ (95 มม.) ภาคตะวันออก : จ.สระแก้ว(208 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (46 มม.) ภาคใต้ : จ.ชุมพร (90 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 5-7 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคใต้ ภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
สำหรับพายุโซนร้อน “ยางิ” (YAGI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน
2. สทนช.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 13/2567 ลงวันที่.1 ก.ย. 67 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 3 – 9 ก.ย. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จ.ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสตูล
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80%
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ แม่น้ำยม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และแม่น้ำน้อย ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
3. สถานการณ์น้ำ : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจสอบแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่บริเวณวัดสร้อยทองถึงท่าเรือเทเวศน์ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์มวลน้ำเหนือ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครมีความยาวริมตลิ่งประมาณ 88.00 กิโลเมตร ซึ่งเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมถาวรของกรุงเทพมหานคร ความยาวประมาณ 80 กิโลเมตร เป็นแนวป้องกันตนเองของเอกชนหรือหน่วยงานอื่น ความยาวประมาณ 3.65 กิโลเมตร และเป็นแนวฟันหลอหรือแนวป้องกันตนเองที่มีระดับน้ำต่ำ ความยาวประมาณ 4.35 กิโลเมตร โดยระดับความสูงคันกั้นน้ำแนวป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร ความสูงประมาณ +2.80 ถึง +3.50 ม.(รทก.) แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกรุงเทพมหานคร จะสามารถรองรับปริมาณน้ำเหนือไหลผ่านได้ประมาณ 2,500-3,000 ลบ.ม./วินาที โดยที่ไม่มีน้ำล้นข้ามแนวป้องกันน้ำท่วม
ปัจจุบันระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยังอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติ กรุงเทพมหานครได้เตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์ระดับน้ำที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างทันท่วงที
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 3 ก.ย. 67 ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เทิง ขุนตาล และพญาเม็งราย) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง ศรีนคร คีรีมาศ และกงไกรลาศ) จ.พิษณุโลก (อ.เมืองฯ บางระกำ บางกระทุ่ม ชาติตระการ และพรหมพิราม) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.พระนครศรีอยุธยา เสนา บางบาล ผักไห่ บางไทร และบางปะอิน ) จ.หนองคาย (อ.สังคม ท่าบ่อ และรัตนวาปี) จ.นครพนม (อ.ศรีสงคราม และเมืองฯ) จ.ระยอง (อ.เมืองฯ) และ จ.ชลบุรี (อ.บางละมุง)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 3 ก.ย. 67