สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 30 ส.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (122 มม.) ภาคใต้ : จ.นครศรีธรรมราช (97 มม.) ภาคเหนือ :จ.แม่ฮ่องสอน (94 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (86 มม.) ภาคกลาง : จ.ปทุมธานี (44 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (24 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : วันที่ 1-3 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 61% ของความจุเก็บกัก (49,178 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 43% (25,000 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศที่เกี่ยวข้อง
3.1 ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 12/2567 ลงวันที่ 28 ส.ค. 67 เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 25-31 ส.ค. 67 ขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นและเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง บริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ
และอุบลราชธานี
3.2 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนเฝ้าระวัง!!! น้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 30 ส.ค. – 5 ก.ย. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 67 นายศราวุธ สากล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 และเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 เข้าร่วมการประชุมซักซ้อมแผนเผชิญเหตุอุทกภัย และดินถล่ม จังหวัดปราจีนบุรี ปี 2567 ณ ห้องประชุมสระมรกต (401) ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีนายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เป็นประธานการประชุม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม โดยที่ประชุมได้รายงานแผนเผชิญเหตุอุทกภัย และดินถล่ม พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ปี 2567 แนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดลองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และในที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาการเตรียมความพร้อมและแนวทางการบูรณาการการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 29 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เวียงแก่น พาน และเวียงป่าเป้า) จ.ลำพูน (อ.ลี้) จ.ลำปาง (อ.วังเหนือ) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง ศรีนคร กงไกรลาศ และศรีสัชนาลัย) จ.พิษณุโลก (อ.บางระกำ และพรหมพิราม) จ.เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก) จ.หนองคาย (อ.รัตนวาปี ศรีเชียงใหม่ สังคม ท่าบ่อ และเมืองฯ) จ.หนองบัวลำภู (อ.เมืองฯ)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 ส.ค. 67