สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 ส.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.น่าน (178 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (138 มม.) ภาคกลาง : จ.ลพบุรี (95 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ชลบุรี (65 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (73 มม.) ภาคใต้ : จ.สตูล (204 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : วันที่ 29 ส.ค. – 2 ก.ย. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 60% ของความจุเก็บกัก (48,681 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 42% (24,513 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศที่เกี่ยวข้อง
3. 1. สทนช.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24 – 30 ส.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
3.1. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนเฝ้าระวัง!!! น้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 30 ส.ค. – 5 ก.ย. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
3.2. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 25-31 ส.ค. 67 ขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นและเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง บริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
3.3. กรมชลประทานแจ้งปรับเพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ จึงขอแจ้งปรับเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 900 – 1,400 ลบ.ม./วิ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.50 – 1.50 ม.
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2567 นายสุชาติ ทีคะสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย และนายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 จังหวัดสุโขทัย พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดสุโขทัย ศาลาจังหวัดสุโขทัย (หลังเก่า) ชั้น 2 อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย หลังจากนั้น ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์คันกั้นน้ำขาดในพื้นที่อำเภอสวรรคโลกและอำเภอศรีสำโรง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ศูนย์ส่วนหน้าฯ ได้บูรณาการร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ในการวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์อุทกภัยและทิศทางการไหลของน้ำท่วม สำหรับใช้ในการแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยให้กับหน่วยงานปฏิบัติและประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบอย่างทันท่วงที เพื่อเตรียมการรับมือสถานการณ์น้ำหลาก ป้องกันและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 27 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ เวียงชัย เชียงแสน ป่าแดด พญาเม็งราย เทิง ขุนตาล เชียงของ แม่สรวย และแม่สาย) จ.น่าน (อ.เชียงกลาง และบ่อเกลือ) จ.พะเยา (อ.เมืองฯ ภูซาง ดอกคำใต้ และเชียงคำ) จ.แพร่ (อ.เด่นชัย วังชิ้น สูงเม่น และหนองม่วงไข่) จ.อุตรดิตถ์ (อ.ฟากท่า และน้ำปาด) และจ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง ศรีนคร และศรีสัชนาลัย)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 27 ส.ค. 67