สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 20 ส.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.พะเยา (112 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.อุดรธานี (66 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (133 มม.) ภาคตะวันออก : จ.นครนายก (92 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ราชบุรี (65 มม.) ภาคใต้ : จ.สงขลา (197 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 21 – 24 ส.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
3. สทนช. 1. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 10/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 16 – 22 ส.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มและบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำบริเวณ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภูบึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80%
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ ลำน้ำงาว ลำน้ำปาย แม่น้ำลาว แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำก่ำ และแม่น้ำตราด
2. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 17 –.24 ส.ค. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราว ในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (19 สิงหาคม 2567) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับนายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัย และตรวจสอบความพร้อมของเครื่องจักรกลสาธารณภัยในการช่วยเหลือประชาชน
นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ เปิดเผยว่าในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกหนักทำให้หลายพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม โดยจังหวัดเพชรบุรีถือเป็นพื้นที่เสี่ยงจึงได้เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ตามข้อสั่งการของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม พร้อมทั้งบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ รวมถึงการบริหารจัดการน้ำและการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เตรียมเครื่องจักรกลสาธารณภัยและเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และสมุทรสงคราม
5. สถานการณ์อุทกภัย : วันที่ 19 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ เทิง แม่สาย เวียงชัย แม่ลาว เชียงแสน ป่าแดด พญาเม็งราย และเวียงป่าเป้า) จ.พะเยา (อ.เมืองฯ ดอกคำใต้ ภูซาง และจุน) จ.เพชรบูรณ์ (อ.หนองไผ่) และ จ.ภูเก็ต (อ.ถลาง)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 19 ส.ค. 67