สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 ส.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.เชียงใหม่ (65 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.กาฬสินธุ์ (53 มม.) ภาคกลาง : จ.สระบุรี (38 มม.) ภาคตะวันออก : จ.นครนายก (51 มม.) ภาคตะวันตก : จ.เพชรบุรี (43 มม.) ภาคใต้ : จ.นราธิวาส (61 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง จากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณตอนบนของประเทศเมียนมาและประเทศลาวเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 12–15 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 57% ของความจุเก็บกัก (46,181 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 35% (22,019 ล้าน ลบ.ม.)
3. สทนช. ประกาศเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลง ในช่วงวันที่ 6 – 11 ส.ค. 67 จึงขอให้เฝ้าระวังเตรียมความพร้อมรับมือส่งผลกระทบให้ระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น และเศษซากไม้ลอยน้ำ ดังนี้
บริเวณสถานีหนองคาย จ.หนองคาย และ สถานีบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในช่วงวันที่ 6 -7 ส.ค. 67 ประมาณ 1.0 ม. ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 1.5 ม.
บริเวณสถานีนครพนม จ.นครพนม และสถานีมุกดาหาร จ.มุกดาหาร ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในช่วงวันที่ 7 – 9 ส.ค. 67 ประมาณ 1.0 – 2.0 ม. ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 2.0 – 3.3 ม.
บริเวณสถานีอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ และ สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในช่วงวันที่ 7 – 10 ส.ค. 67 ประมาณ 1.5 – 2.0 ม. ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 3.3 ม.
4. การบริหารจัดการน้ำ : สทนช. ลงพื้นที่ จ.สุโขทัย จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยลุ่มน้ำยม-น่าน ตามมาตรการรับมือ ฤดูฝน ปี 2567 เพื่อติดตามสถานการณ์และบูรณาการหน่วยงานในระดับพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูล คาดการณ์พื้นที่เสี่ยง และแก้ไขสถานการณ์อุทกภัยได้อย่างทันท่วงที และนำรถโมบายหรือหน่วยติดตามสถานการณ์น้ำเคลื่อนที่ของ สทนช. ที่สามารถติดตามรายงานข้อมูลสถานการณ์น้ำได้แบบเรียลไทม์ไปประจำการ ณ บริเวณสะพานพระร่วง ถนนจรดวิถีถ่อง ต.ธานี และบริเวณหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย อ.เมืองสุโขทัย เพื่อให้บริการข้อมูลสถานการณ์น้ำ ให้กับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง นอกจากการประชุมคณะทำงานฯ แล้ว ได้มีการลงพื้นที่จุดต่าง ๆ เพื่อรับฟังข้อมูลและสภาพปัญหาในพื้นที่จริง รวมถึงข้อเสนอโครงการที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ เพื่อไปขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมต่อไป
สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการการดำเนินงานตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 อย่างเคร่งครัด เพื่อรองรับสถานการณ์ในฤดูฝนปีนี้ ซึ่งการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าชั่วคราวฯ เป็นการทำงานในเชิงป้องกันล่วงหน้าเพื่อให้หน่วยงานปฏิบัติในพื้นที่ได้เตรียมความพร้อมรับมือและบริหารจัดการมวลน้ำอย่างเป็นเอกภาพและสอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน สามารถแก้ไขสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มและอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำยม-น่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 10 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.ผักไห่ และเสนา) จ.นครพนม (อ.เมืองฯ) จ.ปราจีนบุรี (อ.บ้านสร้าง ศรีมหาโพธิ และประจันตคาม) และ จ.สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองฯ)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ส.ค. 67