สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 7 ส.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.น่าน (150 มม.) ภาคกลาง : สมุทรปราการ (104 มม.) ภาคใต้ : จ.สตูล (102 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ระยอง (70 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.นครราชสีมา (62 มม.) และภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (16 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อม ความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 10 – 12 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง
2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 57% ของความจุเก็บกัก (45,616 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 37% (21,455 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำมาก
ภาคตะวันออก 2 แห่ง : ขุนด่านปราการชล และนฤบดินทรจินดา
3. สทนช. ประกาศเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลง ในช่วงวันที่ 6-10 ส.ค. 67 จึงขอให้เฝ้าระวังเตรียมความพร้อมรับมือส่งผลกระทบให้ระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น และเศษซากไม้ลอยน้ำ ดังนี้ บริเวณสถานีหนองคาย จ.หนองคาย และ สถานีบึงกาฬ
จ.บึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในช่วงวันที่ 6 -7 ส.ค. 67 ประมาณ 1.0 ม. ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 1.5 ม.บริเวณสถานีนครพนม จ.นครพนม และสถานีมุกดาหาร
จ.มุกดาหาร ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในช่วงวันที่ 7 – 9 ส.ค. 67 ประมาณ 1.0 – 2.0 ม. ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 2.0 – 3.3 ม. บริเวณสถานีอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ และ สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในช่วงวันที่ 7 – 10 ส.ค. 67 ประมาณ 1.5 – 2.0 ม. ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 3.3 ม.
4. แนวทางบริหารจัดการน้ำ : การประชุม กนช. เมื่อวานนี้ (6 ส.ค. 67) รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรพงษ์ แสงมณี) มีความเป็นห่วงสถานการณ์อุทกภัย
ที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดของประเทศ ทั้งสองท่านได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 อย่างเคร่งครัด พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนที่กำลังประสบปัญหาอุทกภัยอย่างทันท่วงที นอกจากนั้น เมื่อสถานการณ์คลี่คลายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้าฟื้นฟูสถานการณ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้เร็วที่สุด สำหรับสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนนี้ สทนช. ยังคงต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ อย่างใกล้ชิด เนื่องจากการคาดการณ์พบว่า ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้ จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยอีกราว 1-2 ลูก ในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบ (ร่าง) แนวทางและปฏิทินการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 (ร่าง) กฎกระทรวงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจส่งผลกระทบกับทรัพยากรน้ำสาธารณะ พ.ศ. … (มาตรา 74) และการจัดทำผังน้ำของลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ตามที่ สทนช. เสนอ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ซึ่งการจัดทำผังน้ำจะเป็นเครื่องมือสำหรับให้ภาครัฐและภาคประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการประกอบการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมน้ำแล้ง เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากภัยด้านน้ำในทุกมิติได้อย่างยั่งยืน
5. สถานการณ์อุทกภัย : สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 6 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.แม่จัน และเชียงแสน) จ.พะเยา (อ.เชียงคำ และเทิง) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.สบเมย) จ.น่าน (อ.เวียงสา บ่อเกลือ และท่าวังผา) จ.เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก) และ จ.ปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี และเมืองฯ)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 ส.ค. 67