สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 ส.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (150 มม.) ภาคกลาง : สุพรรณบุรี (113 มม.) ภาคตะวันออก : จ.นครนายก (108 มม.) ภาคใต้ : จ.สุราษฎร์ธานี (104 มม.) ภาคเหนือ : จ.น่าน (99 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (69 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 6 – 10 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 56% ของความจุเก็บกัก (45,029 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 36% (20,872 ล้าน ลบ.ม.)
การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย
ภาคเหนือ 2 แห่ง : ภูมิพลและสิริกิติ์
ภาคใต้ 1 แห่ง : บางลาง
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 9/2567 ลงวันที่ 2 ส.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 2-8 ส.ค. 67 มีพื้นที่ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย และบึงกาฬ
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.เชียงใหม่ พะเยา น่าน พิษณุโลก เลย หนองคาย และบึงกาฬ
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของลำน้ำงาว (จ.เชียงราย) แม่น้ำสาย (จ.เชียงราย) แม่น้ำน่าน (จ.น่าน) แม่น้ำยม (จ.แพร่ พะเยา และพิษณุโลก) ลำน้ำปาด (จ.อุตรดิตถ์) และแม่น้ำแควน้อย (จ.พิษณุโลก)
4. แนวทางบริหารจัดการน้ำ : นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมติดตามและวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์น้ำ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลกลางเวียง อ.เวียงสา จ.น่าน หลังจากนั้นลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำน่าน และจุดติดตั้งเครื่องสูบระบายน้ำในจุดต่างๆ
เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำ บริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน ส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำน่านสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สทนช. จึงได้ลงพื้นที่บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและน้ำไหลหลากที่คาดว่าจะเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำและชุมชนริมแม่น้ำน่าน พร้อมทั้งได้นำรถโมบาย ประจำจุดบริเวณสถานีวัดน้ำบ้านบุญนาค อ.เวียงสา จ.น่าน เพื่อสนับสนุนการประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ และให้ข้อมูลข่าวสารกับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ ทั้งนี้ สถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่จ.น่าน ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
5. สถานการณ์อุทกภัย : สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 4 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ) จ.เชียงราย (อ.แม่สาย แม่จัน แม่ฟ้าหลวง เชียงของ และเมืองฯ ) จ.เชียงใหม่ (อ.แม่อาย) จ.พะเยา (อ.เมืองฯ และเชียงม่วน) จ.น่าน (อ.เวียงสา และท่าวังผา) จ.ตาก (อ.แม่ระมาด) และ จ.ปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ส.ค. 67