สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ส.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.แพร่ (100 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.นครราชสีมา (87 มม.) ภาคกลาง : นครปฐม (84 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (69 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ราชบุรี (105 มม.) ภาคใต้ : จ.สตูล (98 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ :มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทยตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 5-9 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มีแนวลมพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกและอ่าวไทยตอนบน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งในบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคตะวันออก
2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 55% ของความจุเก็บกัก (44,712 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 35% (20,555 ล้าน ลบ.ม.)
การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 2 แห่งภาคเหนือ : ภูมิพลและสิริกิติ์
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 9/2567 ลงวันที่ 2 ส.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 2-8 ส.ค. 67 มีพื้นที่ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย และบึงกาฬ
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.เชียงใหม่ พะเยา น่าน พิษณุโลก เลย หนองคาย และบึงกาฬ
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของลำน้ำงาว (จ.เชียงราย) แม่น้ำสาย (จ.เชียงราย) แม่น้ำน่าน (จ.น่าน) แม่น้ำยม (จ.แพร่ พะเยา และพิษณุโลก) ลำน้ำปาด (จ.อุตรดิตถ์) และแม่น้ำแควน้อย (จ.พิษณุโลก)
4. แนวทางบริหารจัดการน้ำ : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ติดตามสถานการณ์แม่น้ำน่านคาดว่าระดับน้ำในแม่น้ำน่านจะกลับสู่ภาวะปกติในวันที่ 6 สิงหาคมนี้และจะทำให้น้ำไหลเข้าเขื่อนสิริกิติ์เพิ่มอีกกว่า 500 ล้าน ลบ.ม.
วานนี้ (3 ส.ค. 67) นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำที่ จังหวัดน่าน พบว่ามวลน้ำสูงสุดได้ไหลผ่านสถานี N.64 บ้านผาขวาง อ.เมืองน่าน ปริมาณ 811 ลบ.ม./วินาที และไหลผ่านที่สถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมืองน่าน อยู่ที่ 1,078 ลบ.ม./วินาที และสถานี N.13A บ้านบุญนาค อ.เวียงสา มีปริมาณน้ำ 2,219 ลบ.ม./วินาที คาดว่าสถานการณ์น้ำจะกลับสู่ภาวะปกติในวันที่ 6 ส.ค. 67
นอกจากนี้ สทนช. ได้นำรถโมบายติดตามสถานการณ์น้ำไปยังตลาดนัด วัดบุญยืน ต.กลางเวียง อ.เวียงสา จ.น่าน เพื่อสนับสนุนการประเมินสถานการณ์และให้ข้อมูลกับหน่วยงานในพื้นที่และประชาชนรวมถึงเตรียมการหารือบูรณาการติดตามสถานการณ์น้ำเพื่อเร่งคลี่คลายสถานการณ์ ในวันที่ 10 ส.ค. นี้
5. สถานการณ์อุทกภัย : สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 3 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.แม่สาย และเวียงแก่น) จ.เชียงใหม่ (อ.อมก๋อย และนาเกียน) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ) จ.พะเยา (อ.เมืองฯ และเชียงม่วน) จ.น่าน (อ.เวียงสา เชียงกลาง ปัว และท่าวังผา) จ.ตาก (อ.แม่ระมาด) จ.ปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี ประจันตคาม และนาดี) จ.จันทบุรี (อ.เมืองฯ มะขาม ขลุง ท่าใหม่ และนายายอาม) และ จ.ตราด (อ.เขาสมิง)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 3 ส.ค. 67