สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 2 ส.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.อุตรดิตถ์ (211 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.บึงกาฬ (72 มม.) ภาคกลาง : จ.พระนครศรีอยุธยา (61 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ระยอง (104 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ราชบุรี (49 มม.) ภาคใต้ : จ.สงขลา (132 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทยตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 3 -7 ส.ค. 67 ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนและลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 55% ของความจุเก็บกัก (44,166 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 35% (20,008 ล้าน ลบ.ม.)
3. แจ้งเตือนเฝ้าระวัง : พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม บริเวณ จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน น่าน อุตรดิตถ์ พะเยา เชียงราย และตราด
เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำน่าน บริเวณสถานี อ.เวียงสา (N.13A) จ.น่าน มีอัตราการเพิ่มขึ้น 0.06 0.07 ม.ต่อชั่วโมงคาดว่า วันที่ 2 ส.ค. 67 ระดับน้ำจะสูงกว่าตลิ่ง 1.0-1.5 ม. ขอให้เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำและชุมชนริมแม่น้ำน่านบริเวณ บ้านไหล่น่าน ต.ไหล่น่าน บ้านดอนไชย ต.กลางเวียง ต.ขึ่ง และ ต.ล้าน อ.เวียงสา จ.น่าน
4. การบริหารจัดการน้ำ : ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ (ชั่วคราว) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.ตราด จันทบุรี และปราจีนบุรี ดังนี้
บริเวณริมคลองพระปรง ต.เมืองเก่า อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ได้เกิดฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมถนนและบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ต.บุฝ้าย อ.ประจันตคาม และต.นาดี อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ทั้งนี้ ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์ พร้อมเร่งประสานการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าว โดยปัจจุบัน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สนับสนุนเรือ จำนวน 40 ลำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชน นอกจากนี้ หน่วยงานท้องถิ่น ได้สนับสนุนอาหารและน้ำดื่มให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้วย
บริเวณคลองวังโตนด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี และแม่น้ำเขาสมิง อ.เขาสมิง จ.ตราด เกิดน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่สวนผลไม้ และบ้านเรือน โดยมีสาเหตุจากทำนบดินบ่อก่อสร้างด้านเหนือ-ท้ายประตูระบายน้ำตรอกเสม็ด กีดขวางการไหลของแม่น้ำวังโตนด ทั้งนี้ ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ได้ประสานกรมชลประทานเปิดทำนบก่อสร้างดังกล่าว เพื่อเพื่อให้น้ำไหลผ่านประตูระบายน้ำได้โดยสะดวก
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 2 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมือง อ.สบเมย) จ.น่าน (อ.เวียงสา) จ.ตาก (อ.แม่ระมาด) จ.ร้อยเอ็ด (อ.ปทุมรัตต์ เกษตรวิสัย และสุวรรณภูมิ) จ.กาฬสินธุ์ (อ.เมืองฯ กมลาไสย) จ.ยโสธร (อ.เมืองฯ) จ.อุบลราชธานี (อ.เขื่องใน) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา) จ.นครนายก (อ.องครักษ์) จ.ปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี ประจันตคาม และนาดี) จ.ฉะเชิงเทรา (อ.บางน้ำเปรี้ยว) จ.จันทบุรี (อ.เมืองฯ มะขาม ขลุง ท่าใหม่ นายายอาม และแก่งหางแมว) จ.ตราด (อ.เขาสมิง)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 ส.ค. 67