สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 23 ก.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.พะเยา (95 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ชัยภูมิ (33 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (28 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (67 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (73 มม.) ภาคใต้ : จ.นครศรีธรรมราช (49 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ประกอบกับพายุโซนร้อน “พระพิรุณ” ปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก
คาดการณ์ : วันที่ 24 – 27 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศเวียดนามตอนบน และประเทศจีนตอนใต้ จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง
2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 51% ของความจุเก็บกัก (40,897 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 29% (16,733 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 8/2567 ลงวันที่ 21 ก.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24-31 ก.ค. 67 มีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้
3.1 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย พะเยา น่าน แพร่ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม และอุบลราชธานี
ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล
3.2 เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.เชียงใหม่ น่าน พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ เลย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา สระบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี ตราด และระนอง
3.3 เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำพอง ลำน้ำก่ำ แม่น้ำชี ลำเซบาย แม่น้ำยัง และแม่น้ำตราด
4. การบริหารจัดการน้ำ : สทนช. รับนโยบาย “รมต.จักรพงษ์” ใช้กลไกศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า เร่งคลี่คลายปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ จ.ตราด โดยวานนี้ (22 ก.ค. 67) นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เปิดเผยว่า สทนช. ได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัย อ.เขาสมิง และอ.เมืองฯ จ.ตราด และได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งลงพื้นที่ ณ ประตูระบายน้ำอ่างเก็บน้ำคลองสีเสียด เพื่อรับทราบสถานการณ์และเร่งบูรณาการแก้ไขปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ผ่านกลไกศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก และลุ่มน้ำบางปะกง ซึ่งที่ผ่านมาศูนย์ฯ ส่วนหน้าได้มีการคาดการณ์สถานการณ์และแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ รวมทั้งรายงานสถานการณ์การระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำและปริมาณน้ำในลำน้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ในพื้นที่ อ.เขาสมิง ดีขึ้น ในขณะที่ อ.เมืองฯ ซึ่งมีพื้นที่ติดกับคลองบางพระ ยังคงมีปริมาณน้ำเอ่อสูงแต่เริ่มลดระดับลงแล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ พร้อมสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ
5. สถานการณ์อุทกภัย : สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 22 ก.ค.67 ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ จ.พิจิตร (อ.สากเหล็ก) จ.พิษณุโลก (อ.เนินมะปราง และนครไทย) จ.เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก) จ.มหาสารคาม (อ.วาปีปทุม) จ.ขอนแก่น (อ.มัญจาคีรี บ้านไผ่ บ้านแฮด สีชมพู บ้านภูผาม่าน ชุมแพ และหนองเรือ) จ.ชัยภูมิ (อ.คอนสาร บ้านแท่น ภูเขียว และเกษตรสมบูรณ์) จ.ร้อยเอ็ด (อ.ปทุมรัตต์ และเกษตรวิสัย) จ.อุบลราชธานี (อ.เดชอุดม ศรีเมืองใหม่ และโขงเจียม) จ.จันทบุรี (อ.เมืองฯ และท่าใหม่) และ จ.ตราด (อ.เมืองฯ )
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ก.ค. 67