สรรพสามิตฟุ้งไทยฐานผลิต EV ของโลก
• เดินหน้าของบปี 68 สนับสนุนอีก 7 พันล้านบาท
• ดันยอดขาย 1 แสนคัน ชูไทยขึ้นแท่นฮับรถ EV
• เอกนิติ เผยจีนใช้ไทยผลิตรถ EV พวงมาลัยซ้าย
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ในอนาคต ไทยจะเป็นศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ของโลก รองจากจีน หลังจากบริษัทยักษ์ใหญ่ EV ของจีน รายหนึ่ง ได้แจ้งความประสงค์ว่าจะผลิตรถยนต์ EV พวงมาลัยซ้ายในไทย ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับเรา เพราะไทยเป็นประเทศ ที่ผลิตรถยนต์พวงมาลัยขาว โดยผลิตเพื่อขายภายในประเทศ และผลิตเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศ ยังกลุ่มประเทศที่ใช้รถยนต์พวงมาลัยขาวเหมือนกัน เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอังกฤษ ขณะที่ พวงมาลัยซ้ายจะใช้ในสหรัฐฯ และยุโรป ตลาดขนาดใหญ่ของโลก
“ผมคิดว่า เราเดิมมาถูกทางแล้ว เพราะรถ EV ถือเป็นรถยนต์แห่งอนาคต ดังนั้น มาตราการที่รัฐบาลสนันสนุนด้านราคาของรถยนต์ EV นำเข้ามาจากต่างประเทศ จะเป็นแม่เหล็กให้บริษัทยักษ์ใหญ่ EV ของโลก ก็คือ จีน มองมายังเป็นประเทศไทยก่อนเป็นอันดับแรก”
อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ไทยเป็นศูนย์กลางหรือ ฮับ ในการผลิตรถยนต์ของโลกและอาเซียน แต่สถานการณ์ขณะนี้ เปลี่ยนไปแล้ว ถ้าหากไม่ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงให้ทันกับความต้องการตลาดโลก ก็อาจไม่เหลือเลย
“การมีค่ายรถยนต์จากจีนต้องการให้ไทยผลิตรถยนต์พวงมาลัยซ้าย เพราะเขาต้องการให้เราแทนที่จีน ที่มีปัญหาทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ และยังถูกตั้งกำแพงภาษีจากยุโรปในอัตราสูง ดังนั้น การที่ผลิตรถยนต์ EV จากฐานการผลิตในไทย จึงไม่ถูกตอบโต้จากประเทศอื่นๆ เหมือนกับจีนประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้”
สำหรับเป้าหมายของรัฐบาล ที่ต้องการส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์ EV ในประเทศไทย 30% ภายในปี 2573 นั้น อธิบดีกรมสรรพสามิต ระบุว่า มีความเป็นไปได้สูง และอาจเห็นเร็วกว่านั้น เนื่องจากรถยนต์ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย ต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศถึง 40% หรือ Local content 40%
“ถ้ามีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ในไทย จะเท่ากับการใช้ Local content ในไทยแล้ว 15% ยังขาดอีก 25% ผมคิดว่า ไม่ใช่เรื่องใหญ่” อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวและกล่าวว่า
ประเทศไทย ประสบความสำเร็จอย่างมาก ในการออกมาตรการเพื่อเชิญชวนให้บริษัทรถยนต์ EV มาลงทุนในไทย โดยมาตรการ EV 3.0 ที่ดำเนินการเมื่อปี 2565-2566 รัฐบาลลดอัตราภาษีสรรพสามิต จาก 8% เหลือ 2% และรัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนให้ คันละ 150,000 บาท ภายใต้เงื่อนไข ต้องผลิตรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมี 23 บริษัทที่เข้าร่วมโครงการนี้
“เงื่อนไขคือ ถ้าขายรถยนต์ EV นำเข้าได้ จำนวน 100,000 คัน ต้องเปิดไลน์การผลิตในประเทศไทย 100,000 คัน ในปีหน้าต้องผลิตในประเทศ 1 ต่อ 1 หมายความว่า ขายได้ 100,000 คน ต้องผลิต 100,000 คัน และปีหน้า หากไม่สามารถทำได้ ต้องผลิต 1.5 คัน โดยคาดว่า ค่ายรถยนต์ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว จะสามารถผลิตรถยนต์ EV ในปีแรก 80,000-90,000 คัน”
ทั้งนี้ มาตรการ EV 3.5 เริ่มในปี 2567 โดยรัฐบาลได้มอบเงินอุดหนุนจากการซื้อรถยนต์ EV สูงสุด 100,000 บาทต่อคัน ลดลงจากมาตรการ EV 3.0 ได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาทต่อคัน ส่วนในปี 2568 เราจะลดเงินอุดหนุนเหลือ 75,000 บาทต่อคัน และอีก 2 ปีต่อปีจะเหลือ เงินอุดหนุน 50,000 บาทต่อคัน ถือเป็นการสิ้นสุดมาตราการสนับสนุนรถ EV
สำหรับเงินที่ใช้ในการสนับสนุนรถ EV ในปีงบประมาณนี้ 7,000 ล้านบาท หรือ 40,000 คัน ซึ่งงบก้อนนี้ หมดเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากความต้องการรถยนต์มีเข้ามาสูงกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ ส่วนงบปีหน้า (2568) ขอสนับสนุนอีก 7,000 ล้านบาท รวมเป็น 14,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีรถยนต์จากทุกค่ายทั้งรถยนต์ และมอเตอร์ไซค์ รวมแล้ว 30 ราย ทั้ง EV 3.0 จำนวน 22 ราย และ EV 3.5 เพิ่มอีก 8 ราย
ทั้งนี้ ในปัจจุบันไทยผลิตรถสันดาปอยู่ระหว่างปีละ 1.6-1.8 ล้านคัน ครึ่งหนึ่งหรือ 50% ขายในประเทศ และครึ่งหนึ่งส่งออกเป็นรถพวงมาลัยขาว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรรพสามิต ฟุ้ง 8 เดือน จัดเก็บรายได้ 3.4 แสนล้านบาท