สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 มิ.ย. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำ ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทย ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 30 มิ.ย. – 2 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วงวันที่ 3 – 4 ก.ค. 67 มีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 50% ของความจุเก็บกัก (39,894 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 27% (15,731 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 5 แห่งภาคเหนือ : ภูมิพล และสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันตก: ปราณบุรี
3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4.ข่าวประชาสัมพันธ์ : เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 67 นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วม คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ปี 2024 เป็นประธานการประชุมหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 12 และการประชุมคณะกรรมการด้านการเงิน ครั้งที่ 18 ณ MRCS
นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยมีผู้แทนประเทศสมาชิก รวมถึงผู้แทนจากหุ้นส่วนการพัฒนา เข้าร่วมการประชุม โดยมีผลการประชุม ดังนี้
1. การประชุมหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 12 ที่ประชุมได้มีการพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะ ร่วมทั้งรายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 รายงาน Mid – Term.Review (MTR)
1.2 การจัดตั้ง Mekong Fund
1.3 การดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติกระบวนการ PC โครงการเขื่อนสานะคาม โครงการเขื่อนภูงอย การดำเนินการ JAP.ปากแบง ปากลายหลวง พระบาง และประเด็นคลองฟูนันเตโช
1.4 การดำเนินความร่วมมือกับหุ้นส่วนการพัฒนาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1.5 กลไกการสื่อสารและการแบ่งปันข้อมูลการดำเนินการเขื่อน เพื่อให้ข้อมูลด้านน้ำมีการแลกเปลี่ยนรวดเร็วมากขึ้น
1.6 โครงการ Proactive..Regional Planing.(PRP) และ Decision Support Framework (DSF)
1.7 สหรัฐอเมริกา ในฐานะประธานหุ้นส่วนการพัฒนา ปี 2024ได้กล่าวถ้อยแถลงเน้นย้ำ การสนับสนุนการดำเนินการตาม BDS และความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของลุ่มแม่น้ำโขง
2. การประชุมคณะกรรมการด้านการเงิน ครั้งที่ 18 ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงาน ดังนี้
2.1 รายงานประจำปี 2023 และ 2024 และรายงานผลการดำเนินการครึ่งปี (เดือน ม.ค. – พ.ค. 2024)
2.2 แผนการใช้จ่ายงบประมาณ และเสนอปรับปรุง MEP 2023 – 2024 ของกลุ่มงาน ED, PD, TD, และ AD&OCEO
2.3 รายงานการดำเนินการตรวจสอบภายใน เพื่อให้การบริหารจัดการและการควบคุมภายในของ MRCS..เป็นระบบและมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
5.ติดตามมาตรการรับมือฤดูฝน : กทม. ประสาน กรมชลประทานติดตั้งเครื่องสูบน้ำอัตราสูบ 2 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จำนวน 1 เครื่อง ณ สถานีสูบน้ำคลองเปรมใต้เพื่อเร่งระบายน้ำคลองเปรมประชากรด้านบนลงสู่คลองรังสิตประยูรศักดิ์ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ในการเตรียมความพร้อมและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 มิ.ย. 67