สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 8 มิ.ย. 67

1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน และประเทศไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ในวันที่ 9-10 มิ.ย. 67 ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกโดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออก
2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 50% ของความจุเก็บกัก (40,590 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 28% (16,419 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 3 แห่งภาคเหนือ : สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ ภาคตะวันตก: ปราณบุรี
3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน น้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : 4.1 ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 6/2567 ลงวันที่ 2 มิ.ย. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 4 –11 มิ.ย. 67 มีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา น่าน ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ ชัยภูมิ ขอนแก่น และอุบลราชธานี
ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี
ภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
4.2 สทนช. แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 6 – 12 มิ.ย. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
5.แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (7 มิ.ย. 67) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 2/2567 กำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเร่งดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 อย่างเคร่งครัด และเพื่อให้สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการวางแผนเตรียมพร้อมสำหรับฤดูแล้ง ปี 2567/68
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในฤดูฝน และการส่งเสริมความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภค และได้มอบหมายให้หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเร่งเสนอโครงการที่มีความพร้อมและมีความจำเป็นเร่งด่วน รวมถึงโครงการที่เคยเสนอภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง และฝนทิ้งช่วงปี 2567 ที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ โดยเฉพาะโครงการส่งเสริมความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภค ไม่ให้เกิดผลกระทบในช่วงฤดูแล้ง ปี 2567/68 ผ่านระบบ Thai Water Plan (TWP) และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด คณะกรรมการลุ่มน้ำ และหน่วยงานเร่งรัดการดำเนินการพิจารณาโครงการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 มิ.ย. 67