สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 30 พ.ค. 67
1.สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทะเลอันดามัน และประเทศไทย ขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งโดยมีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ
พายุโซนร้อนกำลังแรง “เอวิเนียร์”ด้านตะวันออกของเกาะไต้หวัน ประเทศจีน มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปทางด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 30–31 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
คาดการณ์ : วันที่ 31 พ.ค. – 4 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 51% ของความจุเก็บกัก (41,047 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 29% (16,897 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 5 แห่งภาคเหนือ : สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันตก: ศรีนครินทร์ และปราณบุรี
3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : 4.1 ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 5/2567 ลงวันที่ 25 พ.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 25–31 พ.ค. 67 มีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก และพิษณุโลก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม ชัยภูมิ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด
ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ภาคตะวันออก จ. ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ จ. ชุมพร และระนอง
4.2 สทนช. แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 23 – 31 พ.ค. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
5.แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (29 พ.ค.67) นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการ สทนช. เป็นประธานการประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ล่วงหน้า ณ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมอบหมายหน่วยงานดำเนินการ ดังนี้
ร่วมกันการบูรณาการข้อมูล การคาดการณ์ให้มีความแม่นยำ เพื่อนำไปสู่การแจ้งเตือนภัยที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพโดยใช้เครือข่ายการสื่อสารที่แพร่หลายและเข้าถึงพื้นที่เสี่ยง รวมถึงการวางแผนปฏิบัติการให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและเกิดความเสียหายน้อยที่สุด
ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำอย่างใกล้ชิดและมีการหารือร่วมกันเพื่อปรับแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
เตรียมความพร้อมการบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำที่ความเสี่ยง
น้ำมากเกินเกณฑ์ควบคุม เช่น เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนบางลาง เขื่อนลำปาว เขื่อนวชิราลงกรณ ฯลฯ ขอให้ทยอยระบายน้ำออกจากอ่างฯ เพื่อรองรับปริมาณน้ำฝน สำหรับอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อย เช่น เขื่อนสิริกิติ์ ฯลฯ ให้ปรับลดการระบายน้ำเพื่อกักเก็บน้ำสำรองไว้ให้เพียงพอสำหรับฤดูแล้งหน้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 พ.ค. 67