สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 พ.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคกลางมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคเหนือ
คาดการณ์ :ในช่วงวันที่ 27 – 31 พ.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับพายุไซโคลน “ริมาล” (REMAL) บริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศบังคลาเทศ ในช่วงค่ำวันนี้ 26 พ.ค. 67 ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมฝน) ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน มีกำลังแรงขึ้น โดยมีลมใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้ปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ด้านตะวันตกของภาคเหนือ(ตาก แม่ฮ่องสอน) ภาคกลาง (ราชบุรี กาญจนบุรี) ยังคงมีฝน
ส่วนภาคอื่นๆ มีฝนบางแห่ง ในช่วงบ่ายถึงค่ำ สำหรับภาคใต้ตอนกลางถึงตอนล่าง มีฝนน้อย ส่วนภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง) ฝนตกหนัก โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 51% ของความจุเก็บกัก (41,231 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 29% (17,055 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ : สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันตก: ศรีนครินทร์
3. คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน น้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ :
4.1 ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 5/2567 ลงวันที่ 25 พ.ค. 67เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 25–31 พ.ค. 67 มีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก และพิษณุโลก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม ชัยภูมิ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด
ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ภาคตะวันออก จ. ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ จ. ชุมพร และระนอง
4.2 สทนช. แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 23 – 31 พ.ค. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
5. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอุทกภัย ได้สั่งการให้โครงการชลประทานทุกแห่งเตรียมพร้อมรับมือฝนและสถานการณ์น้ำหลากที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยให้ปฏิบัติตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2567 อย่างเคร่งครัด เตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ ไว้ประจำจุดพื้นที่เสี่ยงเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถใช้งานได้ทันต่อเหตุการณ์
โดย นายไพฑูรย์ ศรีมุก ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ในสังกัด นำทีมลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมืออุทกภัย โดยเฉพาะจุดเสี่ยงภัยลำน้ำยังและบริเวณเขื่อนลำปาว รวมไปถึงการตรวจสอบสภาพอาคารชลประทานและพนังกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน พร้อมกันนี้ ได้ประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการร่วมกันปฏิบัติภารกิจลดความเสี่ยงการเกิดอุทกภัย เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 25 พ.ค. 67