สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 24 พ.ค. 67

1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยค่อนข้างแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคกลาง และอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ในช่วงวันที่ 25-29 พ.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน และด้านตะวันตกของประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีหย่อม
ความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 51% ของความจุเก็บกัก (41,201 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 29% (17,028 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ : สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันตก: ศรีนครินทร์
3. คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ :
4.1 ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 3/2567 ลงวันที่ 14 พ.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันน้ำไหลหลาก ในช่วงวันที่ 18–25 พ.ค. 67 และฉบับที่ 4/2567 ลงวันที่ 20 พ.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ในช่วงวันที่ 22–26 พ.ค. 67 โดยมีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ จ.ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส
4.2 สทนช. แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 23 – 31 พ.ค. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
5. มาตรการและการช่วยเหลือ :
5.1 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ดำเนินการขุดลอกห้วยช้างชน บริเวณ ต.ดงหลวง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร มีประชาชนได้รับประโยชน์ 149 ครัวเรือน 557 คน
5.2 กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจระบบระบายน้ำ เพื่อวางแผนและเตรียมความพร้อมในป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เขตบางนา และเขตพระโขนง โดยจะดำเนินการปรับปรุงระบบระบายน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำให้มากขึ้น
5.3 กรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมืออุทกภัย โดยเฉพาะจุดเสี่ยงภัยลำน้ำยังและบริเวณเขื่อนลำปาว โดยได้ดำเนินการปรับปรุงเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) ของเขื่อนลำปาว เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในอ่างฯ สอดคล้องกับสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ และสามารถจัดการน้ำได้อย่างเหมาะสม รวมไปถึงการตรวจสอบสภาพอาคารชลประทานและพนังกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 23 พ.ค. 67