สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 พ.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : (ประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูร้อนและเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 67) มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง
2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 51% ของความจุเก็บกัก (41,229 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 29% (17,058ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ : สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันตก: ศรีนครินทร์
3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ฉบับที่ 3/2567 ลงวันที่ 14 พ.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ในช่วงวันที่ 18–25 พ.ค. 67 และฉบับที่ 4/2567 ลงวันที่ 20 พ.ค. 67เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ในช่วงวันที่ 22–26 พ.ค. 67 โดยมีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ จ.ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส
5. เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2567 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. ในฐานะคณะกรรมการบริหารของสภาน้ำแห่งเอเชีย พร้อมด้วยหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารสภาน้ำแห่งเอเชีย ครั้งที่ 20 ณ ศูนย์การประชุมบาหลี นูซา ดูอา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
โดยมีวาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยคือ การปรับตำแหน่งคณะกรรมการบริหาร (Asia Water Council-AWC) โดยมีผู้บริหาร สทนช. เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ของ AWC ซึ่งการประชุมครั้งนี้ สทนช. ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำของไทยร่วมกับผู้แทนองค์กรชั้นนำระดับโลก โดยเฉพาะแนวทางการบริหารทรัพยากรน้ำ ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มาบริหารจัดการน้ำระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 พ.ค. 67