สทนช. เตือน ระวังน้ำท่วมฉับพลันหลายพื้นที่
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ พบหย่อมความกดอากาศกำลังแรงก่อตัวในทะเลอันดามัน ส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก
สทนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำตามฝนคาดการณ์ จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน ในช่วงวันที่ 18 – 25 พฤษภาคม 2567 ดังนี้
1. ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอฝาง อมก๋อย และจอมทอง)
จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน แม่สะเรียง และสบเมย)
จังหวัดลำปาง (อำเภอเกาะคา เถิน และแม่พริก)
จังหวัดลำพูน (อำเภอเมืองลำพูน)
จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอตรอน)
จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง และแม่ระมาด) จังหวัดสุโขทัย (อำเภอเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย)
จังหวัดน่าน (อำเภอปัว บ่อเกลือ เชียงกลาง ทุ่งช้าง ท่าวังผา เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว)
จังหวัดแพร่ (อำเภอวังชิ้น)
จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอนครไทย และเนินมะปราง)
จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และเขาค้อ)
2. ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี และศรีราชา)
จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง)
จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี มะขาม ขลุง และโป่งน้ำร้อน)
จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เขาสมิง และบ่อไร่)
3. ภาคใต้ จังหวัดชุมพร (อำเภอท่าแซะ และพะโต๊ะ)
จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กะเปอร์ ละอุ่น สุขสำราญ และกระบุรี)
จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
จังหวัดกระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่ เขาพนม อ่าวลึก คลองท่อม ปลายพระยา และเกาะลันตา)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี พนม บ้านตาขุน และเกาะพะงัน) จังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า และมะนัง)
จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง ปะเหลียน นาโยง กันตัง ห้วยยอด หาดสำราญ รัษฎา และวังวิเศษ)
จังหวัดพัทลุง (อำเภอป่าบอน และตะโหมด)
จังหวัดสงขลา (อำเภอสะเดา)
จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอช้างกลาง พิปูน ฉวาง ทุ่งใหญ่ และถ้ำพรรณรา)
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน
2. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
3. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 13 พ.ค. 67