สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 9 พ.ค. 67

1. สภาพอากาศวันนี้ : ประเทศไทยตอนบนมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุม ทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่งสำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : วันที่ 10 – 14 พ.ค. 67 แนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 53% ของความจุเก็บกัก (42,692 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 32% (18,531 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคตะวันออก: คลองสียัด ภาคกลาง : กระเสียว (ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง)
3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง (ค่าความเค็ม 0.30 กรัม/ลิตร)น้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา เกินเกณฑ์มาตรฐาน (ค่าความเค็ม 2.27 กรัม/ลิตร)
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (8 พ.ค. 67) นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง
รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยในระยะนี้ประเทศไทยมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายแห่ง ส่งผลให้สถานการณ์ขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่คลี่คลายลง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกและฝั่งอันดามันบางส่วน สำหรับการคาดการณ์ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน พ.ค. 67 อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 เดือนแรกของฤดูฝน (พ.ค. – ก.ค. 67) คาดว่าจะยังมีปริมาณฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 5% ก่อนจะค่อยๆ มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มที่อาจจะเกิดพายุ ซึ่งจะช่วยเติมปริมาณน้ำต้นทุนให้แก่อ่างเก็บน้ำต่างๆ