สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 พ.ค. 67
1. สภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน แนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คาดการณ์ : วันที่ 6–10 พ.ค. 67 มีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 54% ของความจุเก็บกัก (43,256 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 33% (19,092 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคตะวันออก: คลองสียัด ภาคกลาง : กระเสียว (ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง)
3.คุณภาพน้ำ : คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล เกินเกณฑ์มาตรฐาน (ค่าความเค็ม 0.36 กรัม/ลิตร)น้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. สถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง : สทนช. ติดตามระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดตามแม่น้ำโขง ในสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศไทย ณ วันที่ 4 พ.ค. 67 สรุปสถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง ดังนี้
4.1 สถานีที่อยู่ช่วงเหนือเขื่อนไซยะบุรี (สปป.ลาว)
สถานีจิ่งหง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต แนวโน้มลดลง และ
สถานีเชียงแสน จ.เชียงราย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต แนวโน้มทรงตัว
4.2สถานีที่อยู่ช่วงท้ายเขื่อนไซยะบุรี (สปป.ลาว)
สถานีเชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังน้ำน้อย แนวโน้มลดลง
สถานีหนองคาย จ.หนองคาย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต แนวโน้มลดลง สถานีบึงกาฬ จ.บึงกาฬ สถานีนครพนม จ.นครพนม สถานีมุกดาหาร จ.มุกดาหาร สถานีอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ และสถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต แนวโน้มทรงตัว
5. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : เมื่อวันที่ 1–2 พ.ค. 67 นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการ สทนช. เป็นประธานการประชุมแนวทางการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในเขตลุ่มน้ำ โดยที่ประชุมพิจารณา ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ ฉบับปัจจุบัน เพื่อใช้ในการปรับปรุงแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำในปี 2568 ให้มีความครบถ้วน และสมบูรณ์ โดยจะนำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) มาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ