สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 มี.ค. 67
1. สภาพอากาศวันนี้ : กระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน ทำให้ภาคเหนือมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คาดการณ์ : วันที่ 23 – 27 มี.ค. 67 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 61% ของความจุเก็บกัก (49,970 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 44% (25,766 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคตะวันออก: คลองสียัด ภาคกลาง : กระเสียว (ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง)
3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. สถานการณ์เพาะปลูกพืช : แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ทั้งในและนอกเขตชลประทาน 10.66 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 12.86 ล้านไร่ (121%) ซึ่งเกินกว่าแผนการเพาะปลูก
5. การให้ความช่วยเหลือ : สทนช. ลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ต.บ้านเดื่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย และได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วน โดยให้ อบต.บ้านเดื่อ ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เครื่องสูบน้ำจาก ศูนย์ ปภ.เขต 14 อุดรธานี สูบน้ำจากหนองแสนตอส่งไปยังบ่อน้ำต้นทุนที่ใช้สำหรับผลิตประปา และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 3 (สทน.3) นำรถบรรทุกน้ำมาเติมใส่ระบบเพื่อให้มีน้ำใช้ไปพลางก่อนและในระยะยาว ให้ สทน.3 สำรวจออกแบบระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากหนองแสนตอไปยังบ่อน้ำต้นทุนผลิตประปา เพื่อเตรียมการเสนอขอแผนงานโครงการในระบบ THAI WATER PLAN ต่อไป