สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 16 ก.พ. 67
1. สภาพอากาศวันนี้ : มวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีกเล็กน้อยในตอนกลางวัน ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 17 –19 ก.พ. 67 มวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 67% ของความจุเก็บกัก (55,539 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 54% (31,178 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคตะวันออก: คลองสียัด ภาคกลาง : กระเสียว (ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง)
3.คุณภาพน้ำ : เฝ้าระวังความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงกว่ามาตรฐานอาจส่งผลต่อการผลิตน้ำประปา และในแม่น้ำบางปะกงสูงกว่ามาตรฐานซึ่งมีผลกระทบต่อการเกษตร
4. ติมตามผลการเพาะปลูก : ทั้งประเทศ แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ทั้งในและนอกเขตชลประทาน 10.66 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 11.79 ล้านไร่ (111%)
5. กิจกรรมสำคัญ : นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 ระหว่างวันที่ 14–15 ก.พ. 67 ณ จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อรับทราบสภาพปัญหาและความต้องการด้านน้ำช่วงฤดูแล้งในพื้นที่ และลงพื้นที่ติดตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำของระบบประปาภูเขาและแหล่งกักเก็บน้ำในชุมชน พร้อมร่วมพูดคุยกับผู้นำชุมชนและชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรในระดับปานกลางถึงระดับมาก เนื่องจากแหล่งกักเก็บน้ำไม่เพียงพอสำหรับใช้ในฤดูแล้ง สทนช. จึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น โดยการทำฝายชั่วคราวเพื่อกักเก็บน้ำไว้และสูบส่งต่อเข้าถังเก็บน้ำให้เพียงพอในฤดูแล้งนี้ ส่วนในระยะยาวได้มอบกรมชลประทานพิจารณาจัดทำฝายถาวร และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กหลายๆ แห่ง เพื่อบริหารจัดการน้ำในลักษณะอ่างพวงให้เหมาะสมกับพื้นที่ต่อไป