สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 ก.พ. 67
1. สภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาว ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 12–13 ก.พ. 67ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณกังกล่าว มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 68% ของความจุเก็บกัก (56,173 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 55% (31,960 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคตะวันออก: คลองสียัด ภาคกลาง : กระเสียว (ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง)
3.คุณภาพน้ำ : เฝ้าระวังความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงกว่ามาตรฐานอาจส่งผลต่อการผลิตน้ำประปา และในแม่น้ำบางปะกงสูงกว่ามาตรฐานซึ่งมีผลกระทบต่อการเกษตร
4. กิจกรรมสำคัญ : สทนช. บูรณาการความร่วมมือหน่วยงานบริหารจัดการน้ำเค็มรุกล้ำเข้ามาใน 4 แม่น้ำสาย เนื่องจากช่วงระหว่างวันที่ 9-15 ก.พ. 2567 เกิดน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าความเค็มเกินค่ามาตรฐานที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ โดย สทนช. ประสานกรมชลประทานเตรียมพร้อมรับมือ ดังนี้
แม่น้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานจะเพิ่มการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อผลักดันน้ำเค็มไม่ให้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง (กปน.) บริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล จ.ปทุมธานี
แม่น้ำท่าจีน ผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง ผ่านคลองท่าสาร -บางปลาและคลองจระเข้สามพัน เพื่อนำมาผลักดันน้ำเค็มไม่ให้รุกเข้ามาถึงปากคลองจินดา
แม่น้ำแม่กลอง เพิ่มปริมาณการระบายน้ำของเขื่อนแม่กลองในการควบคุมความค่าเค็มไม่ให้กระทบต่อการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการผลิตน้ำประปา
แม่น้ำบางปะกง ใช้น้ำจากเขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนนฤบดินทรจินดา และเขื่อนพระปรง ในการผลักดันน้ำเค็ม