สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 30 ธ.ค. 66
1. สภาพอากาศวันนี้ : มวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยเริ่มอ่อนกำลังลง ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออก มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ในขณะที่ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ในวันที่ 30 ธ.ค. 66 – 1 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 75% ของความจุเก็บกัก (61,968 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 65% (37,757 ล้าน ลบ.ม.) อ่างฯเฝ้าระวังน้ำน้อย 3 แห่ง (สิริกิติ์ กระเสียว และคลองสียัด) อ่างฯเฝ้าระวังน้ำมากเสี่ยงล้นกระทบต่อด้านท้ายน้ำ 1 แห่ง (บางลาง)
3. สถานการณ์น้ำในลำน้ำ : ทุกภาคปริมาณน้ำน้อย ยกเว้นภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำมาก โดยเฉพาะแม่น้ำปัตตานี แม่น้ำโก-ลก คลองเสาธง คลองท่าดี และคลองตันหยงมัส
4. พื้นที่อุทกภัย : จากสถานการณ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณเกาะสุมาตราและทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ และยังคงมีสถานการณ์ 3 จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส 20 อ. 100 ต. 495 ม. ประชาชนได้รับผลกระทบ 72,563 ครัวเรือน
5. กิจกรรมสำคัญ : วานนี้ 28 ธ.ค. 66 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมตรี เป็นประธานการประชุมศูนย์บริการจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้เพื่อรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำและพื้นที่ประสบอุทกภัย ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จังหวัดยะลา โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องสรุปรายงานสถานการณ์การบริหารจัดการน้ำ การให้ความช่วยเหลือประชาชน ก่อนเดินทางไปพบปะประชาชนให้กำลังใจ ผู้ประสบอุทกภัยและมอบถุงยังชีพและน้ำดื่ม ที่บ้านจางา ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีประชากรที่อาศัยกว่า 150 ครัวเรือน ที่ยังคงได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย และตรวจเยี่ยมรถโมบายติดตามสถานการณ์น้ำ ณ บริเวณหน้าเทศบาลเมืองปัตตานี ตามลำดับ ซึ่งรัฐบาลมีความห่วงใยต่อสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้มอบหมายให้ สทนช. บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ พร้อมทั้งให้กรมประชาสัมพันธ์ ศอ.บต. และจังหวัด ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและเร่งสร้างการรับรู้ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่