สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 ธ.ค. 66
สภาพอากาศวันนี้ : มวลอากาศเย็นกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มอ่อนกำลังลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวต่อเนื่อง และมีลมแรง ในขณะที่ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
คาดการณ์ : ในวันที่ 27–31 ธ.ค. 66มวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น ภาคใต้ตอนล่างมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 25 ธ.ค. 66 เฝ้าระวังน้ำน้อย 3 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันออก : คลองสียัด ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง
ติดตามอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ปริมาณน้ำ > 100% ภาคใต้ 2 แห่ง : คลองแห้ง และคลองหลา+ สทนช. เร่งขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำ ภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
วานนี้ (25 ธ.ค. 66) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 3/2566 โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ดังนี้
1. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี จำนวน 57,393 รายการ จาก 24 หน่วยงาน จาก 8 กระทรวง 76 จังหวัด
2. (ร่าง) แผนขับเคลื่อนน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค (พ.ศ.2566 – 2580) ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ 13 แผนงาน ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 บำรุงรักษาและซ่อมแซมระบบประปา กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนา ขยายเขตระบบประปา กลยุทธ์ที่ 3 ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคให้ได้มาตรฐาน กลยุทธ์ที่ 4 การบริหารจัดการ โดยมีเป้าหมายในการอบรมเสริมสร้าง พัฒนาองค์ความรู้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกรรมการบริหารกิจการประปา
3. (ร่าง) หลักเกณฑ์การผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำ เพื่อให้คณะกรรมการลุ่มน้ำนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย (1) การผันน้ำลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน-เจ้าพระยา (2) การผันน้ำลุ่มน้ำป่าสัก–เจ้าพระยา (3) การผันน้ำลุ่มน้ำบางปะกง–ชายฝั่งทะเลตะวันออก
ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 7/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 18-26 ธ.ค. 66 ดังนี้
1. เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก บริเวณ จ.นครศรีธรรมราช (อ.เมืองนครศรีธรรมราช ขนอม สิชล นบพิตำ ท่าศาลา พรหมคีรี ลานสกา พระพรหม ปากพนัง ร่อนพิบูลย์ เฉลิมพระเกียรติ เชียรใหญ่ ชะอวด และหัวไทร) จ.พัทลุง (อ.เมืองพัทลุง และควนขนุน) จ.สงขลา (อ.เมืองสงขลา กระแสสินธุ์ ระโนด สทิงพระ สิงหนคร ควนเนียง หาดใหญ่ บางกล่ำ นาหม่อม จะนะ และเทพา) จ.ปัตตานี (อ.เมืองปัตตานี ปะนาเระ มายอ แม่ลาน ไม้แก่น ยะรัง ยะหริ่ง ทุ่งยางแดง กะพ้อ สายบุรี และหนองจิก) จ.ยะลา (อ.เมืองยะลา บันนังสตา และรามัน) จ.นราธิวาส (อ.เมืองนราธิวาส เจาะไอร้อง ตากใบ บาเจาะ ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ แว้ง จะแนะ สุคิริน สุไหงโก-ลก และสุไหงปาดี)
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก ที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่โดยเฉพาะเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบบริเวณท้ายเขื่อนน้อยที่สุด
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ คลองท่าแนะ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส
ลำน้ำสายหลักทุกภาค ปริมาณน้ำน้อย เฝ้าระวังน้ำน้อย ยกเว้นภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำมาก
เนื่องจากฝนตกหนักในคืนวันที่ 24 ธ.ค. 66 ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 5 จ. ได้แก่ จ.สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส 24 อำเภอ 92 ตำบล 384 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,624 ครัวเรือน
ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ร่วมกับ ศอ.บต. กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานในพื้นที่ เข้าให้การช่วยเหลือและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ปัจจุบันสถานการณ์น้ำลดลง
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติ